อย่าสู่รู้ (Not Knowing)

The Art of Turning Uncertainty into Opportunity | 11/1/2016 | Comments: 3


Book Title: Not Knowing : The Art of Turning Uncertainty into Opportunity

Author(s): Steven D'Souza & Diana Renner
Format: Paperback, 224 pages
Publisher: LID Publishing Inc. (June 9, 2014)
Language: English
ISBN-10: 1907794484
ISBN-13: 9781907794483
Product Dimensions: 5.5 x 0.6 x 8.5 inches

 

ไม่ได้เล่าหนังสือมานานมาก ส่วนหนึ่งก็น่าจะเพราะไม่ค่อยพบเห็นหนังสือที่ "น่าสนใจ" ซักเท่าไหร่ในระยะหลังๆ มานี้ แต่สาเหตุหลักๆ ก็น่าจะเพราะเวลาในการอ่านเริ่มน้อยลง แล้วเวลาที่จะเรียบเรียงคำพูดเพื่อบอกเล่าประเด็นที่พบเห็นในหนังสือแต่ละเล่มก็ยิ่งน้อยลงไปกันใหญ่ ... สรุปว่า ... ยังหยิบยังจับหนังสือหลายเล่มมาอ่านอยู่เป็นประจำ แต่ไม่มีเวลาเรียบเรียงความคิดของตัวเองออกมาเป็นคำเขียนซะมากกว่า ...

สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาอ่าน หรือใช้เวลากับการอ่านบทความสั้นๆ มากกว่าการอ่านหนังสือเล่ม หนังสือเรื่อง Not Knowing ของ Steven D'Souza กับ Diana Renner น่าจะพอตอบโจทย์เรื่องเวลาแบบนี้ได้อยู่ ... แต่ถ้าไม่มี "นิสัยรักการอ่าน" อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผมอยากแนะนำให้เริ่มจาก "การดัดสันดานตัวเอง" ก่อน หรือไม่งั้นก็ไม่ต้องไปสนใจมันเลยแล้วกัน ... 😃

ผู้เขียน Not Knowing เลือกใช้กลวิธีในการลำดับเรื่องเป็นท่อนสั้นๆ โดยจัดให้เริ่มหน้าใหม่สำหรับแต่ละหัวข้อ แทนที่จะเรียงเป็นหัวข้อย่อยๆ ในแต่ละบทเหมือนหนังสือทั่วๆ ไป ซึ่งแต่ละหัวข้อก็แทบจะแยกต่างหากจากกันเป็นเอกเทศ ไม่จำเป็นต้องอ่านต่อเนื่องกันทั้งเล่มก็ได้ พอใจเปิดอ่านจากเรื่องไหนก็อ่านไป ไม่กี่หน้าก็จบหนึ่งหัวข้อ แล้วก็กระโดดไปหัวข้อใหม่ ... ต่อเนื่องบ้าง ไม่ต่อเนื่องบ้าง จะอ่านแยก อ่านรวม หรืออ่านกระโดดไปกระโดดมาได้ทั้งนั้น ... เก้าะ ... เป็นวิธีการเขียนที่น่าสนใจดีครับ ...

สำหรับชื่อหนังสือ Not Knowing เล่มนี้ ทำให้ผมนึกถึงหนังสืออีก 2 เล่มที่ชื่อคล้ายๆ กันคือ The Book Of Not Knowing ของ Peter Ralston ที่ผมเคยอ่านไปเมื่อหลายปีก่อน กับหนังสือเก่าแก่ในชุดของ J.Krishanmurti เรื่อง Freedom From The Known ซึ่งทั้งสองเล่มที่นึกถึงนี้ เป็นหนังสือแนว Spirituality ที่กระเดียดไปในด้านปรัชญาและศาสนามากกว่าการประกอบธุรกิจ ... แต่จะว่าไปแล้ว หนังสือกลุ่มนี้ทั้งหมดก็ล้วนแต่ชี้เป้าไปที่เรื่องเดียวกันคือ "อย่ายึดติดกับสิ่งที่ตนเคยรู้" ... คล้ายๆ กับนิทานเซ็นเรื่อง "ชาล้นถ้วย" อะไรประมาณนั้น ... แต่ถ้าจะให้ผมแปลชื่อหนังสือ Not Knowing ให้เป็นภาษาไทยจริงๆ ผมคงจะเลือกแปลมันว่า "อย่าสู่รู้" ซะมากกว่า เพราะดูจะตรงประเด็นกับเนื้อหาของหนังสือมากที่สุดแล้ว ... 😂

เรื่องของเรื่องก็คือ บ่อยครั้งในโลกของการทำงานนั้น ผู้คนส่วนใหญ่มักจะ "แสดงตนว่ารู้" ในบางเรื่องราวจนไม่คิดที่ค้นหาคำตอบที่แตกต่างใดๆ อีกเลย ซึ่งไอ้ประเภท "มั่นใจในภูมิรู้ของตนอย่างล้นเหลือ" จนไม่ยอมรับรู้เรื่องราวที่แตกต่างไปจาก "ทัศนคติของตน" เนี่ย ... แม้แต่ตัวของเราเองก็ไม่ใช่ว่าจะได้รับการยกเว้นซักเท่าไหร่หรอก ... 😄 ... เก้าะ ... ถ้าเป็น "ความรู้แบบผิดๆ" ชาวบ้านเขาก็คงจะเรียกว่า "กบในกะลา" กัน ... แต่ถ้าเป็น "ความรู้แบบถูกๆ" ผมอยากจะใช้คำว่า "ดักดานในข้อเท็จจริง" ดีกว่า ... 😄 ... โดยทั้งสองกรณีล้วนเป็นอุปสรรคต่อ "การเรียนรู้" และไม่อาจ "การสร้างสรรค์" นวัตกรรมใดๆ ให้แก่มวลมนุษยชาติเลย ... !!?!! ... แล้วก็ "อาการสู่รู้" ทั้งสองประเภทนี่แหละที่เป็นที่มาของ "โรคคิดในกรอบ" (Thinking Inside The Box) ที่ "พวกอวดรู้" ทั้งหลายพยายามส่งเสริม "พฤติกรรมแหกกฎ" ให้แก่สาธารณะ ด้วยการหยิบยก "วลีกึ่งสำเร็จรูป" ประเภท "คิดนอกกรอบ" (Thinking Outside The Box) มาเผยแพร่อย่างผิดๆ จนสังคมอุดมไปด้วยเหลวแหลกเลอะเทอะ เพราะความที่ถูกเสี้ยมสอนให้ "เชื่อ" กันว่า "กฎระเบียบต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งเหลวไหลที่ขัดขวางความเจริญของมวลมนุษยชาติ" ... ทั้งๆ ที่พวกแม่งเองนั่นแหละที่จมกะลาอยู่ในกะโหลกของตัวเอง ด้วยการปฏิเสธกฎระเบียบทุกอย่างของโลกภายนอก แล้วเอาแต่อวดอ้าง "ความมีสิทธิส่วนบุคคล" จนปฏิบัติต่อสังคมราวกับโลกทั้งโลกคือ "ที่รโหฐานในกบาลของตัวเอง" อย่างไร้รากไปวันๆ เท่านั้น ... !!!!?!?!?

ความจริงแล้ว The Box ที่ "ครอบงำความคิด" ของพวกเราจน "ติดกรอบ" อยู่นั้นก็คือ "ความคิดของเราเอง" ... มันคือ "ความคิด" หรือ "ความเชื่อ" ที่ว่า "เรารู้แล้ว" หรือ เรามีคำตอบอยู่แล้ว" ซึ่งเป็นพฤติกรรมทางสมองที่ "บดบังการเรียนรู้" ของเราให้ตีบตันอยู่กับ "สิ่งที่เราเชื่อว่าเรารู้แล้ว" หรือ "สิ่งที่เรามีข้อสรุปไปแล้ว" โดยไม่ต้องค้นหาข้อเท็จจริงใดๆ อีก อันเป็นพฤติกรรมปรกติของสมองมนุษย์ที่พยายามปกป้องตนเองจาก "ความไม่รู้" เพื่อหลีกเลี่ยง "ความไม่แน่นอน" ที่สมองยังไม่สามารถประมวลเข้าเป็นหมวดหมู่เพื่อ "การยึดเกาะ" ใดๆ ... ความหมายที่แท้จริงของ "ความนอกกรอบ" หรือ Outside The Box ก็คือ การก้าวให้พ้นจาก "ความสู่รู้ของตัวเอง" ... ประเด็นหลักๆ ที่ Steven D'Souza กับ Diana Renner นำเสนอไว้ในหนังสือ Not Knowing ของพวกเขาก็คือประเด็นนี้ ... ส่วนไอ้ประเภทที่แหกปากโวยวายเพื่อที่จะกล่าวหาว่า สังคมเต็มไปด้วยกฎระเบียบอันเหลวไหลที่ขัดขวางความไม่งอกงามทางความคิดของตัวเองนั้น คือพวกที่ "ไม่มีความรับผิดชอบ" และ "ขี้ขลาด" จนไม่กล้าแม้แต่จะยอมรับว่า "บาปแห่งความโง่ของตัวเอง" นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ใครหน้าไหน หรือสถาบันใดต้องมามีส่วนในการรับผิดชอบเลย ... ซักนิดเดียว !!!!?!?! ... ซึ่งประเด็นที่ระบายคำแรงๆ เนี่ย ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือละ ... กูเอง !! ... 😄

 

 


Categories: ZhuqiBook

Comments

mabycarly   25/3/2022

Uhzpyz https://oscialipop.com - buy cheap cialis discount online Pdhivd Cialis Free Generic Tadalis Sx Soft https://oscialipop.com - Cialis Ajpdtd Nutrition is important in its own right but were also concerned about the number of calories that were taking in.

illussy   9/4/2022

You could feel weakness or have trouble going to the bathroom. https://bestadalafil.com/ - Cialis Cialis Nxyidr tadalafil patent https://bestadalafil.com/ - cialis online pharmacy Generic Viagra For Woman

attainO   13/10/2022

Our study suffers from certain limitations buy cialis online using paypal

Leave Comment