Empress Dowager Cixi

The Concubine Who Launched Modern China | 26/9/2013


Book Title: Empress Dowager Cixi
Author(s): Jung Chang
Format: Hardcover ; 464 pages
Publisher: Knopf ; October 29, 2013
Language: English
ISBN-10: 0307271609
ISBN-13: 9780307271600
Product Dimensions:

นี่คือหนังสือเล่มใหม่ของ Jung Chang ผู้เขียน Wild Swan และ Mao : The Unknown Story ที่ยังคงรักษามาตรฐานของการเป็น "ผู้ต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของประเทศจีน" อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในคราวนี้ เธอถึงกับรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ในยุคของ "พระนางซูสีไทเฮา" ขึ้นมาปัดฝุ่นซะใหม่ ด้วยการบอกเล่าถึงคุณงามความดี และคุณูปการที่พระนางเคยอุทิศไว้ให้กับการพัฒนาแผ่นดินจีนในรัชสมัยของพระองค์ ชนิดที่ไม่เคยมีใครเคยเอ่ยถึงมาก่อน เพราะเรื่องราวของ "พระนางซูสีไทเฮา" ล้วนถูกทาทับไว้ด้วยภาพลักษณ์ที่มีแต่ความชั่วร้าย และความเหลวแหลกต่างๆ นาๆ ... ตามทฤษฎีโบร่ำโบราณที่ว่า "ชนะเป็นเจ้า แพ้เป็นโจร" นั่นเอง !!? ... ซึ่งการกล่าวถึง "ด้านลบ" ของ "ประธานเหมา" ไว้ในหนังสือเล่มก่อนหน้า แล้วต่อด้วยการสรรเสริญ "ด้านบวก" ของ "พระนางซูสีไทเฮา" ไว้ในเล่มนี้โดย Jung Chang ก็คงจะมีจุดประสงค์ที่แฝงนัยทางการเมืองของยุคสมัยใกล้ปัจจุบันไว้ไม่มากก็น้อย ... และเชื่อว่า หนังสือเล่มนี้ก็คงจะได้รับความนิยมในซีกโลกตะวันตก และน่าจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่ค่อยจะสบอารมณ์ของคนซีกโลกตะวันออกเหมือนผลงานที่แล้วๆ มาของเธอ

โดยส่วนตัวแล้ว ผมมองว่าการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่เป็น "เชิงบวก" แบบนี้ น่าจะมีประโยชน์มากกว่า "การขุดคุ้ยเรื่องไม่ดี" ของบุคคลในประวัติศาสตร์มาเล่าขานกัน โดยเฉพาะการที่เจ้าตัวเขาไม่มีโอกาสลุกขึ้นมาชี้แจงหรือแก้ต่างใดๆ ได้เลย ... นั่นอาจจะเป็นเพราะผมเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนล้วนมีแง่มุมที่ดีและไม่ดีปะปนกันไปในช่วงชีวิตของแต่ละคนเสมอ ขึ้นอยู่กับ "ทัศนคติ" และ "วิจารณญาณ" ของผู้ที่ทำการสำรวจตรวจค้นชีวประวัติของบุคคลเหล่านั้นเป็นเกณฑ์ ... แม้ว่า "การขุดคุ้ยเรื่องไม่ดี" อาจจะมีประโยชน์อยู่บ้างในแง่ของ "ความเป็นคู่เปรียบเทียบ" เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ผู้ที่ต้องการจะศึกษาโดยทั่วๆ ไป แต่โดยมากแล้ว เราก็มักจะเห็น "การขุดคุ้ยเรื่องไม่ดีของฝ่ายตรงข้าม" เพียงเพื่อจะ "สร้างความชอบธรรมของฝ่ายตน" ให้เป็นที่ยอมรับได้เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับการเรียนรู้ใดๆ อย่างสร้างสรรค์ !!

ครั้งหนึ่ง จอมจักรพรรดิ "ฉินซีฮ่องเต้" หรือจักรพรรดินี "บูเช็กเทียน" ต่างก็เคยถูก "ป้ายสี" ให้เป็น จอมโฉดชั่วแห่งประวัติศาสตร์" มาก่อน แต่พระราชประวัติของท่านทั้งสอง ก็ได้รับ "การรื้อฟื้น" ด้วยทัศนคติแบบอื่นที่แตกต่างไปจากเดิม แม้ว่าเรื่องราวที่ได้รับ "การตีความใหม่" เหล่านั้น จะไม่สามารถลบล้างภาพลักษณ์อันโหดร้ายในยุคสมัยของทั้งสองพระองค์ออกไปได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยที่สุดก็ได้เปิดมุมมองใหม่ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์หนึ่งๆ ในบันทึกทางประวัติศาสตร์นั้น ไม่ได้มีมุมมองที่แน่นอนตายตัวอย่างที่ใครหลายคนมักจะยึดติดกัน ... ซึ่งเรื่องราวของ "พระนางซูสีไทเฮา" ก็ย่อมจะมีมุมมองที่เป็นไปได้ ทั้งใน "เชิงบวก" และ "เชิงลบ" เช่นเดียวกับบุคคลอื่นๆ ด้วยเหมือนกัน

ในแง่ของ "ความเป็นชนชาติ" ของอาณาจักรจีนอันกว้างใหญ่ ซึ่งมีชนเผ่าต่างๆ ที่รวมตัวกันเป็นประชากรจำนวนมหาศาล ตลอดช่วงระยะเวลาของประวัติศาสตร์อันยาวนานนั้น "อาจจะ" มีความไม่เหมาะสมบางประการสำหรับการปกครองด้วย "ระบอบประชาธิปไตย" แบบชาติตะวันตก ที่หลายต่อหลายคน "ถูกเสี้ยมสอนให้ยอมรับ" ว่า เป็น "ระบอบการปกครองที่เลวร้ายน้อยที่สุด" ... แต่สังคมจีนซึ่งผ่านร้อนผ่านหนาวของระบอบการปกครองต่างๆ มาตั้งแต่ยุคของการปกครองโดยจ้าวแคว้น มาสู่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช จนได้รับการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นประชาธิปไตยในช่วงระยะเวลาสั้นๆ (เพียง 37 ปี) ก่อนที่จะหวนคืนสู่ความเป็น "สังคมนิยมกึ่งเผด็จการ" แบบ "ลัทธิเหมา" โดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า พวกเขาสามารถหล่อเลี้ยงประชากรกว่า 1,000 ล้านคนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหนือกว่าชาติตะวัตกอื่นๆ ที่คอย "ยัดเยียด" แนวคิดของตนผ่านตำรับตำราและอาวุธ เพื่อให้ชาวโลก "ต้องยึดถือ" เป็น "ข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด" โดยไม่สนใจใยดีต่อสภาวะแวดล้อมทางสังคมที่แตกต่างกัน ... ทั้งๆ ที่ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศประชาธิปไตยต้นแบบทั้งหลายของซีกโลกตะวันตกนั้น ก็กำลังต้องประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ยากจะเยียวยาแก้ไขในปัจจุบัน ... !!??

ประวัติศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของ "พระนางซูสีไทเฮา" อาจจะเป็นข้อพิสูจน์หนึ่งที่ชนชั้นปกครองของประเทศจีนต้องเรียนรู้ว่า ต่อให้เป็นบุคคลที่เก่งกล้าสามารถเพียงใด และมีความทุ่มเทที่อุทิศให้กับประเทศชาติมากมายขนาดไหนก็ตาม ย่อมยากที่จะนำพาประเทศชาติอันประกอบด้วยประชากรจำนวนมากมายของพวกเขา ให้รุดหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ... การเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครองมาสู่ "ความเป็นสาธารณรัฐ" ที่ปกครองด้วย "ระบอบสังคมนิยมกึ่งเผด็จการโดยคณะบุคคลที่ได้รับการคัดสรร" อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ "น่าจะเหมาะสมกว่าสำหรับประเทศจีน" ซึ่ง "ท่านประธานเหมาเจ๋อตง" ได้ตัดสินใจลงไปเมื่อปี ค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) และได้รับการสานต่ออย่างมีพัฒนาการต่อมาอีกกว่า 60 ปีจนถึงปัจจุบัน (ค.ศ.2013 / พ.ศ.2556) ... การที่ใครต่อใครหลายคนจะพากันตัดสินว่า "ดี" หรือ "ไม่ดี" โดยอาศัยเพียง "ทฤษฎี" หรือ "ทัศนคติ" ของคนเพียงไม่กี่คน (ซึ่งเป็น "บุคคลภายนอกของประเทศจีน") นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สามารถรับฟังได้ แต่ไม่อาจยึดถืออย่างเป็นจริงเป็นจัง จนกว่าจะได้พิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ทุกๆ ประเทศล้วนมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันแล้วเท่านั้น !!

 

 


Categories: ZhuqiBook

Leave Comment