เถียงกับคัมภีร์ (ภาคต่อ) : เรื่องของอักษร 善

4/9/2018 | Comments: 12

อักษร 善 (shàn : ซั่น) เป็นหนึ่งในจำนวน "อักษรเจ้าปัญหา" ที่ทำให้ผมอยากจะ "เถียงกับคัมภีร์" 三字經 (sān zì jīng, ซัน จื้อ จิง) ขึ้นมาตะหงิดๆ เพราะด้วยวลีขึ้นต้นของคัมภีร์ที่บันทึกไว้ว่า 人之初,性本善 (rén zhī chū , xìng běn shàn : เญิ๋จืฌู , ซิ่ง เปิ่น ซั่น) และได้รับ "การตีความ" ให้หมายถึง "โดยกำเนิดของมนุษย์ (人之初) พื้นฐานนิสัย (性) อันเป็นทุนเดิม (本) คือความดีงาม (善)" นั้น ผมยังรู้สึกไม่ค่อยชอบใจซักเท่าไหร่ เพราะวลีท่อนถัดมาซึ่งถือว่าเป็น "ส่วนขยายความ" ของ 2 วลีข้างต้นก็คือ 性相近,習相遠 (xìng xiāng jìn , xí xiāng yuǎn : ซิ่ง เซียง จิ้น , ซี๋ เซียง เหยฺวี่ยน) โดยหลายตำรา "ตีความ" ไว้ว่า "โดยพื้นฐานทางธรรมชาติ (性) ที่แม้นว่าจะมีความคล้ายคลึงกัน (相近) แต่การเลี้ยงดู (習) ย่อมทำให้แต่ละคนมีความแตกต่าง (相遠)" ... คือ ... ผมยังรู้สึกว่า มันก็ทั้งใช่ แล้วก็ไม่ใช่ซะทีเดียว ... เพราะมันยังรู้สึกตะหงิดๆ อยู่ไง !!?? ... 😄

คืองี้ ... ท่อน "ขยายความ" มันก็พอจะกล้อมแกล้มไปได้อยู่หรอกนะถ้าจะ "ตีความ" กันอย่างนั้น แต่ก็เนื่องจากผม "ไม่เคยเชื่อ" เลยว่า มนุษย์นั้นเป็น "คนดีมาตั้งแต่เกิด" ไง ผมก็เลยรู้สึกตะหงิดๆ กับท่อนแรกที่ได้รับ "การตีความ" ไปในทิศทางนั้น เพราะถ้าเป็นอย่างที่ "ตีความ" กันไว้จริงๆ "ธรรมชาติ" (Nature หรือ 性) กับ "การเลี้ยงดู" (Nurture หรือ 習) ยังจะสร้าง "ความแตกต่าง" ไปทำไม?! ... แล้วจะสร้าง "ความแตกต่าง" ในด้านไหนได้บ้าง?! ... ในเมื่อจริงๆ แล้ว คำว่า 習 (xí : ซี๋) มักจะถูกใช้ในความหมายว่า "การฝึกฝน" หรือ "การเล่าเรียน" มากกว่า "การเลี้ยงดู" ... แต่ก็โอเคแหละ ถ้า "การเลี้ยงดู" ที่ว่านั้นจะรวมถึง "การอบรม" และ "การสั่งสอน" ไปด้วยพร้อมๆ กัน ผมถึงว่าท่อน "ขยายความ" มันยังพอจะกล้อมแกล้มไปได้ในความหมายที่เขา "ตีความ" กันไว้ แต่มันไม่ตอบโจทย์เรื่องของคำว่า 善 (shàn : ซั่น) ที่ "นิยม" ให้ความหมายกันว่า "ดี", "ความดี", หรือ "ความเจริญ"

"ภาพอักษร" ดั้งเดิมของ 善 (shàn : ซั่น) นั้นประกอบขึ้นมาจาก "ภาพอักษร" 羊 (yáng, ยั๋ง) ที่ปัจจุบันแปลว่า "แพะ" แต่ความจริงมันเคยถูกใช้เป็น "ภาพสัญลักษณ์" ของอักษร 祥 (xiáng, เซี๋ยง) ซึ่งหมายถึง "ความสุข-ความเจริญ หรือ "สิ่งดีงาม" หรือแม้แต่ "ความมีโชคลาภ" ที่เรามักจะเห็นการใช้คู่กับคำว่า 吉 (jí : จี๋) ซึ่งมักจะใช้ในความหมายของ "ความรุ่งเรือง" ; องค์ประกอบที่เหลือตรงบริเวณด้านล่างใน "ภาพอักษร" 善 (shàn : ซั่น) ก็คือ "ภาพอักษร" 言 (yán : เอี๋ยน) ซึ่งหมายถึง "คำพูด" หรือ "การพูดคุย" ซึ่งในภาพเดิมของอักษรโบราณของ 善 (shàn : ซั่น) นั้นจะประกอบด้วยอักษร 言 (yán : เอี๋ยน) ถึง 2 ตัวด้วยกัน อันน่าจะหมายถึง "การถาม-การตอบ" หรือ "การสื่อสารกัน" ที่เน้นว่า มันไม่ใช่แค่ "คำพูด" ธรรมดาๆ ทั่วๆ ไป แต่เป็น "การสนทนา" หรือ "การสื่อสารกัน" และในยุคต่อมาก็ลดความซ้ำซ้อนให้เหลือ 言 (yán : เอี๋ยน) เพียงตัวเดียว ในเมื่อ 言 (yán : เอี๋ยน) สามารถแปลว่า "การสนทนากัน" ได้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องเขียนซ้ำกัน 2 ตัวเหมือนกับ "การสื่อ" ด้วย "ภาพอักษร" ในยุคแรกๆ ของอักษรจีน ...ดังนั้น 善 (shàn : ซั่น) ที่แปลกันว่า "ดี" หรือ "ความดี" นั้นจึงไม่ใช่ "ความดี" ในลักษณะที่เป็น "นามธรรม" ลอยๆ แต่เป็น "ความดี" ที่เกิดขึ้นจาก "คำพูด" หรือ "การสนทนา" ซึ่งก็คือ "การอบรมสั่งสอน" โดยเฉพาะ ... ความหมายจริงๆ ของวลี 人之初,性本善 (rén zhī chū , xìng běn shàn : เญิ๋จืฌู , ซิ่ง เปิ่น ซั่น) จึงควรจะได้รับ "การตีความใหม่" ว่า "ธรรมชาติโดยกำเนิดของมนุษย์ (人之初) คือมีกมลสันดาน (性) พื้นฐาน (本) ที่สามารถสอนให้ดีได้(善)" แล้วถึงจะมาต่อด้วย "ท่อนขยายความ" ที่ว่า "อาศัยเพียงความคุ้นชินตามธรรมชาติ (性) ก็อาจพัฒนาไปได้เพียงก้าวสั้นๆ จากจุดเริ่มต้น (相近) แต่ด้วยความพากเพียรเรียนรู้และฝึกฝน (習) ย่อมจะก้าวพ้นขีดจำกัดไปได้ไกลยิ่งกว่า (相遠)"

เก้าะถ้า "ตีความ" คัมภีร์ 三字經 (sān zì jīng, ซัน จื้อ จิง) ออกมาอย่างนี้แล้ว "ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์" ก็จะตั้งอยู่บนสมมุติฐานเดียวกับแนวคิดเรื่อง "เวไนยสัตว์" ในศาสนาพุทธพอดี และจะสอดคล้องกับจุดเน้นของคัมภีร์ส่วนที่เหลือทั้งฉบับ ที่เน้นไปในเรื่องของ "การอบรม-สั่งสอน" และ "การเรียนรู้-ฝึกฝน" เพื่อ ""พัฒนาตน" ให้เป็น "คนดี" และ "คนเก่ง" ที่ประกอบด้วย "มนุษยธรรม" และ "จริยธรรม" ... ถ้าดันทะลึ่ง "ตีความ" ว่า "มนุษย์ทุกคนเกิดมาดีแสนดีอยู่แล้วตั้งแต่เกิด" จะต้องเขียนไอ้ที่เหลือให้ใครต้องไปอ่านอีกเล่า ดีอยู่แล้วก็ตายๆ ไปเลยแล้วกัน !!?! ไม่ต้องมีลมหายใจไปสั่งสอนใครอีกแล้วไง ในเมื่อเขาก็ดีกันหมดทั้งโลกอยู่แล้วนี่ ... รึไม่จริง ??!!?? ... 😄

หมดเรื่องคาใจไว้ชั่วคราวแต่เพียงเท่านี้ เอาเวลาไปแคะ "คัมภีร์อี้จิง" ส่วนที่เหลือให้จบก่อนละ !!?? ... 😄

 

 

 


Categories: ZhuqiDox

Comments

assaunk   19/12/2020

Buying Viagra100brand Fromcanadaonline blolve soft tab cialis hooffoperi Buy Kamagra Soft Tablets

assaunk   22/12/2020

Propecia Impotencia Viagra blolve buy cialis online hooffoperi Kamagra Wo Kaufen Forum

poipsgype   20/4/2021

http://fcialisj.com/ - buy cialis non prescription

assaunk   8/5/2021

viagra

affomoupe   22/5/2021

cialis online pharmacy

affomoupe   8/6/2021

headache viagra

affomoupe   23/6/2021

real cialis no generic

affomoupe   22/8/2021

buy real cialis online

Sergppk   25/2/2022

Novost

illussy   17/4/2022

Acquistare viagra 25 mg https://bestadalafil.com/ - Cialis cialis and food Ovjzcd Cialis https://bestadalafil.com/ - soft tab cialis Mqjtbt Buy Lasix Without Prescription

ctzcnk   7/5/2022

hcqs side effects https://keys-chloroquineclinique.com/

attainO   24/10/2022

buy cialis online 20mg Pancreatic cancer stem cells

Leave Comment