เถียงกับคัมภีร์ ... อีกละ ?!
หลายวันก่อนได้นั่งคุยกับคุณพ่อเกี่ยวกับหนังสือ และตำรับตำราต่างๆ ที่กำลังพยายามลำดับหมวดหมู่ เพื่อทำการจัดเก็บให้เรียบร้อยใน "ห้องหนังสือ" แห่งใหม่ของบ้าน ซึ่งก็บังเอิญได้มีการพาดพิงไปถึงหนังสือ 三字經 หรือคัมภีร์ "ซาหฺยี่เก็ง" ที่องค์การ UNESCO ได้บรรจุไว้ในทะเบียน "มรดกโลกทางวัฒนธรรม" ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา ... ซึ่งมันก็แน่นอนอยู่แล้วล่ะครับว่า "ตำราระดับคัมภีร์" แบบนี้ ผมไม่มีทางรอดจากมันไปได้อยู่แล้ว ... 😄
โดยส่วนตัวแล้วผมรู้แค่ว่า มันคือ "หนังสือโบราณ" และเป็น 1 ใน 5 คัมภีร์ที่มักจะถูกเอ่ยถึงรวมกับคัมภีร์อื่นๆ อีก 4 ฉบับ และมักถูกจัดพิมพ์ไว้เป็นชุดเดียวกันเสมอ โดยเฉพาะชุด 四書五經 หรือ "สี่ตำราห้าคัมภีร์" อันลือลั่นสนั่นโลกคลาสสิคของจีนนั่นเอง ... แต่จนแล้วจนรอดผมก็ยังติดแหง็กอยู่กับ "คัมภีร์อี้จิง" (易經) เพียงคัมภีร์เดียว ซึ่งเป็น 1 ใน 5 คัมภีร์ที่อยู่ในชุดเดียวกันกับ 三字經 (น่าจะติดแหง็กมาเกิน 10 ปีไปแล้วแหละ) โดยยังเหลือ "การตีความ" อีก 8 บทสุดท้าย ก่อนที่จะย้อนกลับไปเกลาสำนวน "การตีความ" ทั้งหมดของตัวเองอีกรอบหนึ่งตามที่ได้ตั้งใจเอาไว้ ... ทั้งนี้ก็เพราะว่า "คัมภีร์อี้จิง" (易經) มักจะถูก "ตีความ" ให้เป็น "ตำราหมอดู" อยู่เป็นประจำ โดยที่ผมยืนยันมาโดยตลอดว่า มันเป็น "คัมภีร์การปกครอง" ... จึงเป็นที่มาของ "ความอยาก" ที่จะ "ตีความใหม่" ทั้งหมด ... เพื่อ "ความถูกต้อง" ของผมเอง!?!?!?! ... ซ่ามาก!! ... 😄
ในขณะที่ "ซาหฺยี่เก็ง" (三字經) ได้รับการยกย่องว่าเป็น "คัมภีร์สอนกุลบุตร-กุลธิดา" มาโดยตลอด ซึ่งโดยรวมๆ แล้วก็ไม่น่าจะผิดแปลกอะไร เพราะมันเป็นคัมภีร์ที่ถูกจัดเข้าชุดกับตำราของ "ขงจื่อ" (孔子) อยู่แล้ว ... ซึ่ง "คัมภีร์อี้จิง" (易經) ก็อยู่ในชุดนี้ด้วยเหมือนกันนะ ... อย่าลืม!?!? ... ผมจึงยังไม่เคยไปเปิดอ่านอย่างจริงๆ จังๆ เพราะไม่คิดว่าจะมีการ "แปลผิด" เหมือนกับ "คัมภีร์อี้จิง" (易經) ... ก็เท่านั้น
แต่พอคุณพ่อเอ่ยถึงขึ้นมา ผมก็เลยกลับไปเปิดอ่านดูซะหน่อย แล้วก็ทดลองหา "บทแปล" ที่มีคนเคยทำกันไว้แล้ว ... แต่พออ่านเปรียบเทียบ "บทแปล" ทั้งที่เป็นภาษาจีน กับที่เป็นภาษาอังกฤษเพียงท่อนแรกของคัมภีร์ ผมกลับรู้สึก "ไม่ถูกใจคำแปล" ขึ้นมาซะงั้น!! ... สันดานเดิมกำเริบครับ ... 😄
คืองี้ ... คัมภีร์ "ซาหฺยี่เก็ง" (三字經) เขาเริ่มต้นว่า ... 人之初 , 性本善 。性相近 , 習相遠 。... และแปลกันไว้โดยทั่วไปว่า ... Men at their birth are naturally good. Their natures are much the same; their habits become widely different. ... ซึ่งเป็นไปตามที่ "เขาร่ำลือกัน" ว่า ท่าน "ขงจื่อ" (孔子) และ "เมิ่งจื่อ" (孟子) มีแนวคิดเดียวกันนี้ว่า "ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นคนดีมาโดยกำเนิด" ... ซึ่งหลายคนก็ยัง "เชื่อว่า" พระพุทธเจ้าท่านก็สอนไว้ในลักษณะเดียวกัน โดย "ตีความ" จากคำกล่าวที่ว่า "ธรรมชาติเดิมของจิตนั้นประภัสสร" ... โดยไม่พูดถึงท่อนที่ท่านเอ่ยว่า "ธรรมชาติของจิตคล้ายดั่งน้ำที่ย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ" ... ซึ่ง "อาจจะตีความ" ได้ว่า "มนุษย์มีแนวโน้มที่จะเลวทราม" มาตั้งแต่แรก ... รึเปล่า?! ... แล้ว ... การมี "แนวโน้ม" ว่าจะเลวเนี่ยะ ยังจะถือว่ามี "ความดี" เป็น "พื้นฐาน" ได้อยู่อีกมั้ยล่ะ?! ... หรือเราควรจะเชื่อนักปรัชญาบางคนที่บอกว่า "ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นคนเลว" ซึ่งต้องใช้ "กฎระเบียบ" และ "การศึกษา" เป็น "เครื่องมือ" ในการ "ขัดเกลา" ให้เป็น "คนดี"?! ... แล้วผู้รจนาคัมภีร์ "ซาหฺยี่เก็ง" (三字經) เป็น "สาวก" ของ "ความเชื่อ" ฝ่ายไหนกันแน่?! เพราะแม้แต่ "ศิษย์สำนักขงจื่อ" เองก็ยังแตกออกเป็นสองฟากฝั่งเลยนี่นา??!?! ...
ดังนั้น ... ความหมายจริงๆ ของวลี 性本善 (xìng běn shàn, ซิ่ง เปิ่น ซั่น) ในวรรคต้นๆ ของ คัมภีร์ "ซาหฺยี่เก็ง" (三字經) จึงน่าจะถูก "ตีความ" โดยอีก 2 วรรคที่ตามมา ... มั้ย?! โดยมีคำว่า 性 (xìng, ซิ่ง) ที่มีความหมายว่า "นิสัย" หรือ "บุคลิก" ถูกนำมาเป็น "คู่ตรงข้าม" กับคำว่า 習 (xí, ซี๋) ที่แปลว่า "การศึกษา" หรือ "การฝึกฝน" โดยใช้คำว่า 近 (jìn, จิ้น) กับ 遠 (yuǎn, เหฺยวี่ยน) ที่หมายถึง "ใกล้" กับ "ไกล" มาเป็น "ตัวชี้นำ" ... แต่ว่า ... มัน "ใกล้กับอะไร" แล้ว "ไกลกับอะไร" ล่ะ?! ... ถ้าจะบอกว่า "ใกล้" หรือ "ไกล" กับ 善 (shàn, ซั่น) ล่ะก้อ ... เลอะเลยครับ!!?! ... เพราะในเมื่อคำว่า 善 (shàn, ซั่น) นั้นถูก "ตีความ" ให้หมายถึง "ความดี" ไปเรียบร้อยแล้วไง?! ... ขืนระบุลงไปอย่างนั้น คำว่า 習 (xí, ซี๋) ซึ่งหมายถึง "การศึกษา" หรือ "การฝึกฝน" เป็นได้ฉิบหายกันพอดี ... 😱 ... ต่อให้บอกว่า "ใกล้" หรือ "ไกล" กับ 本 (běn, เปิ่น) ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะคำว่า 本 (běn, เปิ่น) นั้นได้ถูก "ตีความ" ให้มีความหมายว่า "ดั้งเดิม" ซึ่งกลายเป็น "คำคุณศัพท์" ของคำว่า 善 (shàn, ซั่น) ที่หมายถึง "ความดี" เหมือนเดิม ... ?!?! ... งงอ้ะดิ๊ !!?!
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว คำว่า 善 (shàn, ซั่น) ในที่นี้ จึงน่าจะถูก "ตีความ" ให้มีความหมายอื่นที่ไม่ใช่ "ความดี" !?!? ... แต่มันควรจะเป็นอะไรนี่สิที่ผมรู้สึกว่า มันต้อง "เถียงกับคัมภีร์" ... อีกแล้ว?!?! ... 😄 ... ถือว่าเป็น "ประเด็น" ที่ผมอยากจะเก็บเอาไว้ไปขบคิดต่อให้ชัดๆ อีกครั้งแล้วกัน ระหว่างนี้ขอกลับไป "เถียงกับคัมภีร์" ฉบับเดิมที่ค้างคามากว่าสิบปีให้จบก่อนดีกว่า ดูเหมือนจะนานเกินที่กะไว้ตั้งแต่แรกเยอะมากเลยทีเดียวเชียว !!!?!?!... 😄
Comments
AsepaBet 9/3/2022
It seems brilliant idea to me is
https://howyoutoknowacxv.online/map.php
Leave Comment