เหตุผลดีที่ไม่ถูกต้อง
เรื่องของเรื่องมันก็เริ่มมาจากใครซักคนที่โพสต์ "เรื่องเล่าเขย่าปัญญา" เรื่องนี้ขึ้นไปในอินเทอร์เน็ต นั่นแหละ ...
ตอนนี้มีความเห็นต่างกันของผู้ชุมนุมในเรื่องการประท้วง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฝ่ายนึงบอกว่าเมื่อรัฐบาลถอยแล้วก็...ควรเลิกประท้วง เพื่อความสงบของชาติ อีกฝ่ายก็บอกว่า...ควรยกระดับเพื่อขับไล่รัฐบาล... เพราะ บลา บลา บลา เหมือนหาเรื่อง ได้คืบเอาศอก ก็เลยอยากจะยกตัวอย่างเรื่องง่ายๆ ใกล้ๆ ตัวในสังคมไทย เรื่องมันก็มีอยู่ว่า... สีกามันเข้าไปอ้อนเจ้าอาวาสตั้งแต่เช้า แถมเปิดกุฏิถ่ายทอดสดเป็น reality ให้คนดูทั้งประเทศ คนไทยคนไหนอยากดูก็เปิดดูเอา เพราะชาวบ้านไม่ค่อยอยากยุ่งเรื่องของพระแล้ว เจ้าอาวาสวัดซึ่งชอบอ้างว่าได้รับการแต่งตั้งจากศรัทธามหาชน ทำชั่วผิดศีลจนย่ามใจ ก็พาสีกาสาวเข้ากุฏิในยามวิกาลตอนตีสี่ ... กำลังถอดจีวร ... พร้อมจะดันให้สุดซอยอะไรประมาณนั้น ส่วนสาวเจ้าก็แต่งตัวอยู่ในชุดนอนบางเบาที่พร้อมจะซอยให้สุดดัน อิอิ แต่บังเอิญชาวบ้านไทยเฉยแอบจับตาดูอยู่...ก็ชวนกันมาประท้วงไล่สีกาสาว พร้อมกับตะโกนว่า "เลวมาก เอาสีกาชั่วออกจากกุฏิพระเดี๋ยวนี้!" เจ้าอาวาสตกใจ กลัวลนลานที่โดนจับได้คาหนังคาเขา เลยรีบไล่ (ถอน) ให้สีกาถอยออกจากกุฏิกลับไปก่อน พร้อมกับตะโกนบอกชาวบ้านที่มาประท้วงว่า "โอเคร โอเคร กูไล่สีกาชั่วถอยออกจากกุฏิแล้วนี่! ... กูยอมทำตามที่พวกมึงเรียกร้องแล้วนะ ถ้าเห็นว่าไม่ดีก็จะไม่พาสีกาเข้ากุฏิอีกแระ สัญญาว่าอีกหกเดือนก็ไม่พาเข้ามา พูดจริ๊ง เลิกชุมนุมเถ๊อะ กลับบ้านเถ๊อะ ให้อภัยกันเพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของหมู่บ้านเรา นะ นะ" แต่ชาวบ้านกลุ่มนึงก็ร้อง "อ้าว แค่เนียะ?!" แล้วตะโกนบอกว่า "เจ้าอาวาส ออกไป! ออกไป!" เจ้าอาวาสก็ร้องออกมา ... ทำหน้าตาเหมือนปูถูกรังแก "อุตะ อุตะ! กูว่าแล้ว พวกมึงตั้งใจหาเรื่องกู ได้คืบเอาศอก สีกากูก็สั่งให้กลับไปแล้ว ยังมาไล่กูอีก พาลนี่หว่า... ฮือ ฮือ ... ทำไม พวกมึงจะมาไล่กูด้วยเหตุผลไร" ... ทำหน้างงๆ ไม่เข้าใจ เสียงสั่นเครือปนสะอื้นเล็กน้อย "อ้าว! เว้ย! เฮ้ย! ก็มึงเป็นพระทำอย่างงี้ได้ไง มึงต้องรู้ดิว่าทำอย่างนี้มันเลว ผิดศีล มันอาบัติ ต้องปาราชิก เพราะฉะนั้นเจ้าอาวาสต้องสึก อยู่ไปกูก็ไม่ไหว้ ไม่ทำบุญ" ชาวบ้านพยายามอธิบายให้ฟัง แต่ ... เจ้าอาวาสทำปากจู๋ ชายตาแล้วพูดขึ้นว่า "กูไม่รู้ กูไม่สึก ไม่ไหว้ก็ไม่ไหว้ แล้วอย่าน้า ขืนก้าวข้ามสะพานมาอีกก้าวเดียวจะเรียกตำรวจมาจับพวกมึง โทษฐานทำให้กุฏิกูไม่มั่นคง!" ชาวบ้าน ??!??!?! เข้าใจยังครับ ทำไม...บางกลุ่มถึงมุ่งขับไล่รัฐบาล
|
ผมอ่านครั้งแรกก็รู้สึกว่ามัน "สมเหตุสมผล" อยู่เหมือนกัน ... แต่ก็อดรู้สึกขัดๆ กับตรรกะ "ตลกพระกับสีกา" ในสถานการณ์แบบนี้ไม่ได้อยู่ดี ... คืออย่างงี้ครับ ...
- สถานการณ์อันวุ่นวายในประเทศไทยเวลานี้ ไม่ได้เกิดจาก "พระ" แต่เกิดจาก "แมงดาโจร" กับเหล่า "หญิง-ชายผู้ขายบริการฯ อยู่ในรัฐสภา" จำนวนมาก
- ถ้าจะบอกว่ามีใครคนใดคนหนึ่งกระโดดหนีออกมาจาก "กุฏิ" หลังดังกล่าวในเรื่องเล่า คนนั้นก็ไม่น่าจะเป็น "สีกา" แต่เป็น "พระปลอม" ที่ได้รับการอุปโลกขึ้นว่า จะมาทำหน้าที่ "โปรดสัตว์" ด้วย "อภัยทาน" ชนิด "ยกเข่ง"
- ส่วนไอ้ที่ยังอยู่ใน "กุฏิ" หลังนั้น ก็ต้องไม่ใช่ "พระ" (เพราะมันควรจะเป็นตัวที่กระโดดหนีออกไป) แต่คือเหล่า "หญิง-ชายผู้ขายบริการฯ" ที่ร่วมกัน "ชำเราพระ" ให้กลายเป็น "พระปลอม" แล้วปล่อยให้กระโดดหนีออกจาก "กุฏิ" ไป เพื่อที่จะอ้างว่า พวกเขาไม่สามารถตามตัว "พระปลอม" ตัวนั้นกลับมาเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ ได้อีกแล้ว โดย "เล่นละครตบตา" เพียงแค่ "ยกเลิกการอุปโลกพระปลอม" อีก 6 ตัว ทั้งๆ ที่พวกมันยังไม่ได้เริ่มถูกแต่งตัวด้วยซ้ำ ... ในขณะที่ "พระปลอม" ซึ่งกระโดดหนีไปแล้วนั้น "หญิง-ชายผู้ขายบริการฯ" บอกว่า ต้องรอให้มันกลับมาเอง โดยให้สัญญาลมๆ แล้งๆ ไว้ว่า จะ "หมก" มันไว้เป็นเวลา 6 เดือน "โดยไม่ทำอะไร" ... "เผื่อว่า" มันจะ "ตายไปเอง" หลังจากนั้น
- ที่ "ชาวบ้าน" ควรจะเรียกร้อง จึงไม่ควรจะเป็นการเรียกร้องให้จับพระมาสึก ... เพราะมันเป็นแค่ "พระปลอม" ไม่ใช่ "พระจริง" ... แต่ต้องเรียกร้องให้ "หญิง-ชายผู้ขายบริการฯ" เหล่านั้น "ต้อง" ร่วมกัน "ปลดเครื่องแต่งกายอย่างพระ" ออกจากไอ้เวรนั่นด้วย "วิธีใดวิธีหนึ่ง" เพราะเป็น "ผู้ร่วมสมคบคิด" ในการสร้าง "สิ่งอุบาทว์" นี้ขึ้นมา ไม่ใช่ปล่อยมันไว้ในสภาพนั้นไปอีก 6 เดือน "โดยไม่ทำอะไร" เพื่อความมั่นใจว่า มันจะไม่กระโดดออกมา "ปะปนกับพระจริง" ที่มีอยู่แล้วในสังคม ...
- แต่หากว่าเหล่า "หญิง-ชายผู้ขายบริการฯ" ไม่มี "ปัญญา" พอที่จะหาวิธีการใดๆ มา "ปลดเครื่องแต่งกายอย่างพระ" ออกจาก "พระปลอม" เพื่อแสดง "ความรับผิดชอบ" ใน "ความอุบาทว์" ที่พวกของตนร่วมกันก่อ เอาแต่นั่งรอนอนรอ "คำสั่งซื้อ" จาก "แมงดาโจร" ที่หนีไป "ซุกหัวซ่อนหาง" อยู่ต่างประเทศเมื่อหลายปีก่อน ... "ชาวบ้าน" ก็ไม่อาจทนเห็น "กุฏิ" ซึ่งควรจะเป็น "สถานปฏิบัติธรรม" ต้องมัวหมองจนกลายเป็นเพียง "ซ่องกะหรี่" เพราะมีเหล่า "หญิง-ชายผู้ขายบริการฯ" คอยย่ำยีสถานที่ด้วย "พฤติกรรมอุบาทว์" อีกต่อไป ...
- ก็ถ้าเหล่า "หญิง-ชายผู้ขายบริการฯ" ยัง "ดื้อด้านไร้ยางอาย" อยู่อย่างนั้น มันก็ต้องเป็น "หน้าที่" ของ "หัวหน้าฝูงกะหรี่และกะหร่วย" ที่ต้องแสดง "ความรับผิดชอบ" ด้วยการ "ไล่" พวกมัน ให้ยกโขยงออกจาก "กุฏิ" ไปให้หมด เพื่อชำระล้าง "สิ่งโสโครก" ที่ "ไร้ปัญญา" และ "ปราศจากยางอาย" เหล่านั้น ให้พ้นไปจาก "สถานปฏิบัติธรรม" ของสังคม ...
- นี่ไม่ใช่ "การขับไล่รัฐบาล" แต่เป็น "การขับไล่กะหรี่" ออกจาก "รัฐสภา" ซึ่งควรจะมีเกียรติ และมีศักดิ์ศรีมากกว่านี้ต่างหากล่ะครับ ... !!!
ความรู้ กับ ความคิด
ผมเขียนวนๆ เวียนๆ อยู่กับความไม่เหมือนกันของ "ความรู้" กับ "ความคิด" มาหลายครั้ง ด้วยเหตุว่ามี "นักวิชาการ" ซึ่งบางคนก็เป็นถึงครูบาอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาของไทย ออกมาแสดง "ทัศนคติ" แบบ "คนสิ้นคิด" อยู่ค่อนข้างบ่อยในระยะหลายปีที่ผ่านมานี้ ประกอบกับมีผู้ที่พยายามยืนยันว่าตัวเองเป็น "นักคิด" ทั้งรุ่นใหญ่รุ่นเยาว์อีกหลายคน ที่บ้างก็ออกมา "ต่อต้าน" บ้างก็ออกมา "สนับสนุน" แนวทาง "การนำเสนอ" ของฝ่ายต่างๆ ตามสื่อสังคมออนไลน์และออฟไลน์จน "เลอะเทอะไปหมด" ... ซึ่งผมก็ต้องยอมรับครับว่า ส่วนใหญ่ของ "ความเลอะเทอะ" นั้น เป็นผลิตผลของเหล่า "นักรู้" หรือ "นักเลียน" ตัวยงที่มี "ความรู้" อย่างกว้างขวาง และลึกซึ้งมากๆ ในแต่ละแง่มุมที่พวกเขานำเสนอ ... แต่ที่สามารถนับว่าเป็น "ความคิด" จริงๆ กลับน้อยมากจนแทบไม่น่าเชื่อ !!!??? ... หรือ "คนที่มีความรู้" จะแตกต่างกับ "คนที่มีความคิด" ได้มากมายขนาดนั้น !!??!! ...
ผมบังเอิญได้ฟังการตอบคำถามโดยหลวงพ่อจรัญฯ แห่งวัดอัมพวันฯ เพียงท่อนสั้นๆ เมื่อหลายวันก่อน จากคลิปที่มีคนโหลดไว้ใน Youtube ซึ่งก็สะดุดใจกับคำพูดท่อนหนึ่งที่ท่านพูดไว้ประมาณว่า "... พวกนักวิชาการน่ะมีความรู้จริงรู้เยอะ แต่พวกนี้มักคิดไม่เป็น ..." ซึ่งทำให้ผมย้อนนึกไปถึงข้อเปรียบเทียบที่ Dr. Edward de Bono เคยยกขึ้นมาในการนำเสนอ "วิธีคิดอย่างสร้างสรรค์" ของเขาว่า ... "สมองของมนุษย์ทุกคนอาจจะเปรียบได้กับรถยนต์ซึ่งมีสมรรถนะที่แตกต่างกัน แต่การคิดคือทักษะในการใช้สมอง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับสมรรถนะของสมองที่แต่ละคนมีอยู่" ... แล้วผมก็ไพล่นึกไปถึงบทความหลายๆ บทความของ J.Krishnamurti ที่มักจะเน้นว่า "... สิ่งที่หลายๆ คนเรียกว่าความคิดนั้น แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นแค่เพียงเศษซากของความทรงจำ ที่แต่ละคนสะสมเอาไว้ในรูปของความรู้ ซึ่งไม่อาจนับเป็นความสร้างสรรค์ใดๆ ได้เลย ด้วยเหตุที่มันปราศจากความมีชีวิตที่สดใหม่ของปัจจุบันขณะ ... พวกเราแต่ละคนล้วนมีปฏิสัมพันธ์กับโลกและทุกสรรพสิ่ง จากพื้นฐานของความทรงจำที่เป็นอดีต แต่กลับมืดบอดต่อความจริงที่กำลังเผยตัวอยู่ในแต่ละขณะของปัจจุบัน ... จิตใจที่มืดบอดต่อความจริง ย่อมปราศจากความรัก และปราศจากความสร้างสรรค์ใดๆ ..."
แต่แม้ว่า "ความรู้" กับ "ความคิด" จะไม่ใช่สิ่งเดียวกันตาม "ตรรกะ" ที่บังเอิญ "ถูกโฉลกกับจริตสันดาน" ของผม แต่ผมก็ยัง "เชื่อ" เสมอว่า มันควรจะเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่ร่วมกัน และต้องคอยประคับประคองซึ่งกันและกันอย่างสมดุล ... ต้องไม่ใช่เอียงไปด้าน "ความคิด" โดยไม่แยแสกับ "ความรู้" ที่ควรจะต้องศึกษาค้นคว้ามาประกอบการพิจารณา ... และต้องไม่ใช่ "ดักดานอยู่กับความรู้" จนปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างที่แตกต่างไปจาก "ความทรงจำ" ของตัวเอง เหมือนอย่างในนิทานพื้นบ้านเรื่อง "ตาบอดคลำช้าง" ที่หลายคนคงเคยได้ยินได้ฟังจนลืมนึกถึงมันไปนานแล้วว่า มันได้แฝงข้อคิดที่สะท้อนถึง "ความขัดแย้ง" ของบรรดา "ผู้มืดบอดทางปัญญา" มาตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณนู่นแล้ว
บ่อยครั้งที่เมื่อมนุษย์บางคนได้รับ "การรับรองวิทยฐานะทางการศึกษา" ในระดับสูงๆ หรือได้รับความยอมรับในระดับหนึ่งจากสังคมรอบๆ ตัวแล้ว ก็มักจะ "หลงจนลืม" ไปว่า นั่นเป็นเพียง "การรับรองสมรรถนะของสมอง" ซึ่งเป็นเพียง "วัตถุนิยมทางปัญญา" เท่านั้น แต่ไม่มีการยืนยันรับรองใดๆ ว่า เราจะมี "สติ" และ "ทักษะ" ที่เพียงพอแก่การใช้งานเจ้า "สิ่งสมรรถนะสูง" ที่ว่านั้นให้เกิดประโยชน์จริงๆ รึเปล่า ... เพราะต่อให้เป็นมหาบัณฑิตที่แตกฉานในทุกสรรพวิชา ถ้าลองมันเมาเป็นหมาขึ้นมาจริงๆ ล่ะก้อ มันก็เป่าเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ไม่ผ่านทั้งนั้นแหละครับ ใครที่ไหนจะกล้าไปยืนยันว่ามันขับรถต่อไปได้ล่ะ ... จริงมั้ย ??!! ... การมีรถที่ติดตั้งเครื่องยนต์แรงๆ ไม่ได้แปลว่าไอ้หมอนั่นมันจะขับรถเป็นหรอกนะ ... ถูกมั้ย ?!
... "ความรู้" ไม่อาจใช้เยียวยาคนที่ไร้ "ความคิด" ... แต่กลับจะทำให้กลายเป็นคน "ดัดจริต" เพราะหลงเชื่อว่าตัวเองนั้น "คิดเป็น" ...
คนขวางโลก
ในช่วงหลายปีที่ social media ในประเทศไทยเฟื่องฟูขึ้นมาราวกับขี้ลอยน้ำ ผมมีโอกาสได้พบเห็น "สิ่งอุจาดทางความคิด และ "ความดัดจริตทางการแสดงออก" ของหลายต่อหลายคนในสังคมเมืองไทยอย่างไม่เคยเชื่อมาก่อนเลยว่า ระบบการศึกษาของประเทศไทยมันพังพินาศได้ขนาดนั้นมานานมากแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาพังพินาศเอาในช่วงระยะหลังๆ ที่มีคนขุดคุ้ยขึ้นมาเอะอะโวยวายกันหรอก เพราะบรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายๆ คนที่แถออกมาแสดง "ความสิ้นคิด" เท่าที่เห็นนั้น ล้วนเป็นผลผลิตของระบบการศึกษาที่มีอายุอานามเกินกว่ากึ่งศตวรรษไปแล้วทั้งสิ้น !!??!! ... มันจึงไม่แปลกอะไรที่บรรดา "นักสิ้นคิด" เหล่านั้นจะผลิต "ทายาททางการลอกเลียน" ออกมาเป็น "นักสิ้นคิด" รุ่นใหม่ๆ ที่กระจายไปทั่วทุกวงการของเมืองไทย ... ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงไอทีที่น่าจะสามารถหลุดพ้นจาก "วงจรอุบาทว์" เหล่านี้มากกว่าใครก็ไม่มีข้อยกเว้น ??!! ... โดยแต่ละคนมักจะกระเสือกกระสนที่จะประกาศตัวว่าเป็นพวก "ลิเบอรัล" (liberal) เพื่อที่จะ "รวมเผ่าชาวสิ้นคิด" ให้เป็น "กลุ่มก้อนของผู้ปฏิเสธสังคม" สำหรับชดเชยให้กับ "ความอ้างว้างโดดเดี่ยว" ที่พวกเขา "ฝังใจกันเอง" มาตั้งแต่อ้อนแต่ออกของพวกเขาไปวันๆ ... เท่านั้นเอง ... !!!?!?!
... คนขวางโลก มักเป็นอาการแสดงออกของ "ความฝังใจ" ว่า โลกขวางเขา ...
... ผู้ไม่ยินดีกับโลก ย่อมเพราะ "ความฝังใจ" ว่าโลกไม่เคยร่วมยินดีกับเขาเลย ...
มีคนบางจำพวกที่ประพฤติตัวราวกับอสุจิที่เล็ดรอดถุงยางเข้าไปปฏิสนธิ จึงฝังใจมาโดยตลอดว่าตนไม่ใช่สิ่งพึงปรารถนาของบุพการีมาตั้งแต่แรก และพยายามยืนยัน "ความฝังใจผิดๆ" ของตนว่าเป็น "คนนอกของสังคม" ด้วยพฤติกรรม "ขวางโลก" เพื่อให้ทุกผู้คนล้วน "ไม่อาจยอมรับ" อันจะกลายเป็น "เหตุสมอ้าง" ให้ตนพร้อมจะ "ต่อต้านสังคม" อย่าง "ผู้อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์" ทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่ โดย "ไม่ต้องไตร่ตรองใดๆ" อีกต่อไป ...
"คนขวางโลก" ประเภทนี้หลายต่อหลายคน พยายามชดเชย "ความอ้างว้างโดดเดี่ยว" ในใจของตนด้วย "การศึกษา" ... บ้างก็ชดเชย "ความฝังใจผิดๆ" นี้ด้วยการประกอบธุรกิจให้แปลกใหม่ใหญ่โต ฯลฯ ... พยายามแสวงหา "ปมเขื่อง" มาข่มทับ "ปมด้อย" ที่ตนเป็นผู้ "ตีตราให้แก่ตนเอง" อย่างขมักเขม้น ... ซึ่งหลายๆ คนก็ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และการประกอบวิชาชีพของพวกเขาได้จริงๆ ... แต่ "ทรัพย์สิน" และ "ความรู้" ก็ไม่ใช่ "สัดส่วนทางตรง" กับ "ความคิด" เสมอไป ... เราจึงมีโอกาสได้พบเห็น "คนรวยระยำ" กับ "กูรูสิ้นคิด" ที่พยายาม "อวดโอ่ตัวเอง" เพื่อ "เรียกร้องความยอมรับ" จาก "สังคมที่ตนเป็นผู้ปฏิเสธ" มาโดยตลอด !!??!!
ประเพณี, วัฒนธรรม, ตลอดจนกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในสังคมหนึ่งๆ ล้วนมีวันเวลาที่เหมาะสมของการก่อเกิด และการดำรงคงอยู่ของมันเสมอ ซึ่งความเหมาะสมของยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง อาจจะไม่มีความเหมาะสมในอีกบางยุคบางสมัย แต่สิ่งที่ทุกคนควรจะทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก็คือ พวกมันล้วนมีเหตุให้ต้องก่อเกิด ล้วนมีเหตุให้ต้องธำรงรักษาไว้ ล้วนมีเหตุให้ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามกาละ-เทศะของมันเสมอ ... ทุกๆ ประเพณี ทุกๆ วัฒนธรรม ทุกๆ กฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในแต่ละสังคม ล้วนมีฝ่ายที่ได้ประโยชน์ ซึ่งย่อมจะแสดงออกด้วยการยอมรับ ล้วนมีฝ่ายที่เสียประโยชน์ ซึ่งย่อมจะแสดงออกด้วยการแข็งขืนต่อต้าน ... แต่สังคมย่อมสงบ เมื่อสมาชิกส่วนใหญ่มี "ทัศนคติ" ที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน มีการจัดสรร "ผลประโยชน์" ให้แก่ "แต่ละภาคส่วนของสังคม" อย่าง "ถ้อยทีถ้อยอาศัย" ซึ่งกันและกัน โดยไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ต้องได้เปรียบ หรือต้องเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา ... มันคือ "หลักคิด" ที่ "นักสิ้นคิด" บางคนชอบกระแนะกระแหนว่า "เขียนเมื่อไหร่ก็ถูก" นั่นแหละ ... !! 😈
ถ้อยคำสำคัญใน "หลักคิด" ข้างต้นนั้นก็คือ "ทัศนคติต่อผลประโยชน์ของแต่ละภาคส่วนของสังคม" นั่นแหละ ... เพราะ "ผลประโยชน์" นั้น มันมีทั้งที่ "จับต้องได้" และ "จับต้องไม่ได้" ... อีกทั้งยังมีประเด็นของ "ผลประโยชน์ระยะสั้น" กับ "ผลประโยชน์ระยะยาว" ... ซึ่งก็จะไปเกี่ยวข้องกับ "ภาคส่วนของสังคมในรุ่นปัจจุบัน" กับ "ภาคส่วนของสังคมในรุ่นอนาคต" ... ทุกๆ ฝ่ายที่มี "ความปรารถนาดีต่อสังคมโดยรวม" จึงต้องพยายามทำความเข้าใจใน "ทัศนคติ" ที่ "อาจจะ" ยังมี "ความแตกต่างกัน" ในประเด็นดังกล่าวให้ชัดเจนตรงกันเสียก่อน ไม่ใช่เริ่มต้นกันที่การตั้งแง่เพื่อจับแต่ละฝ่ายไป categorize ให้เป็น "ลิเบอรัลสามานย์" หรือ "คอนเซอร์เวทีฟสถุล" อย่างที่ปฏิบัติต่อกันอยู่ในทุกวันนี้ !!
คนที่เป็นครูบาอาจารย์จะต้องพยายามทำหน้าที่ "ถ่ายทอดวิธีสังเคราะห์ความรู้" ให้เป็น "ความคิด" แก่สานุศิษย์ของตนด้วย ไม่ใช่สักแต่ท่องจำคำแปลตำราต่างชาติมายัดเยียดให้ใครต่อใครเชื่อว่า "ความรู้" นั้นคือ "ความคิด" ที่เจิดจรัสราวกับรับประทานมาจากสวรรค์วิมานชั้นบรรยากาศนอกวงโคจรของดาวโลก ทั้งๆ ที่มันเป็นเพียง "กากเดน" ของ "ความรู้" ที่ถูกย่อยจนละเอียดไปแล้วของ "นักคิด" ใน "อดีต" ที่อาจจะโบร่ำโบราณกว่าวัฒนธรรมประเพณีที่ตนก่นด่าว่าล้าสมัยไปอีกตั้งหลายร้อยปีด้วยซ้ำ ... ส่วนคนที่อยากสถาปนาตนขึ้นเป็น "นักคิด" ก็จะต้องพยายาม "ใช้ปัญญาอย่างมีสติ" เพื่อ "สังเคราะห์ความรู้" ซึ่งเป็นเพียง "วัตถุดิบทางปัญญา" ให้กลายเป็น "ประดิษฐกรรมทางความคิด" อย่าง "ปรารถนาดีต่อสังคมโดยรวม" ไม่ใช่สักแต่ตะแบงให้มันแผลงเพี้ยนไปวันๆ เพื่อ "สร้างปมเขื่อง" ให้กับตัวเอง ราวกับเป็นตัวอสุจิที่ "ฝังใจในความไร้ค่า" อันเนื่องมาจากความผิดพลาดของมาตรการคุมกำเนิดเท่านั้น !!??
... โลกยังคงหมุนไปไม่ว่าจะมีใครคล้อยตามหรือขวางกั้น ... สังคมย่อมเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะมีใครยอมรับหรือปฏิเสธ ... มนุษย์แต่ละคนล้วนเป็นฝุ่นธุลีที่ดี๊ด๊ากันไปเองว่าตนมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโลกและสังคม ... กรวดทรายที่สำคัญตนว่าเป็นดาวฤกษ์ ต่างก็ทับถมกันเองว่าใครเจิดจรัสกว่าใครอย่างไม่สิ้นสุด ... เถนย่อมไม่ใช่ทั้งกรวดทราย และไม่ใช่ทั้งดาวฤกษ์ ... แต่เถนเป็นขี้กองหนึ่งที่รู้สึกเหม็นขี้ฟันบรรดากรวดทรายทั้งหลายมากกว่าเหม็นกลิ่นของตัวเอง ... 😃
เชื่อกูเหอะว่ามันจริง ?!
... ประมาณว่า ... "กำลังหาความอยากอ่าน" ที่น่าจะบังเกิดขึ้นกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งในกองกระดาษมหึมาในบ้านตัวเอง แล้วก็เกิดคำถามเก่าๆ ที่เคยนึกเล่นๆ อยู่เสมอว่า ... ทำไมเราถึงอยากอ่านหนังสือบางเล่ม" และ "ทำไมเราถึงไม่อยากอ่านหนังสืออีกบางเล่ม ??!! ... ซึ่งก็แน่นอนว่า ปรกติแล้วมันจะเป็นเรื่องของ "ความชอบ" ... แต่ "ทำไมเราถึงชอบ" หรือ "ทำไมเราถึงไม่ชอบ" ล่ะ ??!! ... 😈
ผมมี "ความเชื่อ" อยู่อย่างหนึ่งว่า ... มนุษย์ส่วนใหญ่พยายามยืนยัน "ความเชื่อ" ของตัวเองโดยอาศัย "น้ำมือ" หรือ "น้ำลาย" ของคนอื่นเป็นหลักฐานเพื่อการอ้างอิง !!?? ... ซึ่งการอ่านหนังสือก็มักจะมี "ตรรกะ" ที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน ... นั่นก็คือ ... เรามักจะเลือกอ่านหนังสือที่ "สนองความเชื่อของเราเอง" ในระดับใดระดับหนึ่งเสมอ และมักจะ "ไม่ค่อยชอบ" หนังสือที่ "อ่านไม่รู้เรื่อง" หรือหนังสือที่นำเสนอ "ทัศนคติ" ซึ่ง "ขัดแย้งกับความเชื่อของเรา" ... ทำนองว่า ... มัน "ท้าทายสัญชาติญาณหมู่" ที่ฝังลึกอยู่ในสันดานของ "สัตว์สังคม" อย่างมนุษย์นั่นเอง ... และ "น่าจะ" ส่งผลให้การอ่านหนังสือที่นำเสนอ "ทัศนคติ" อัน "สอดคล้องกับความเชื่อของเรา" สร้าง "ความผ่อนคลายในอารมณ์ของเรา" มากกว่า ... มั้ง ??!! ... ผมเดาๆ เอาว่าคงจะประมาณนี้ !!? ... 😋
เมื่อย้อนมองไปที่การสื่อสารสนทนาของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม เราก็อาจจะเห็น "การสร้างตรรกะ" ในลักษณะที่คล้ายๆ กันกับการเลือกหนังสือ ... นั่นก็คือ ... เราเลือกที่จะ "เชื่อ" คนที่มี "ทัศนคติ" ที่ "สอดคล้องกับความเชื่อของเรา" และมักจะมี "ความผูกพัน" กับบุคคลนั้นๆ ในลักษณะของ "ความไว้วางใจ" มากกว่าบุคคลที่มี "ทัศนคติ" ซึ่ง "ขัดแย้งกับความเชื่อของเรา" อย่างชัดเจน ... และบ่อยครั้งที่คนเรามักจะ "อ้างอิงคำพูด" หรือ "อ้างอิงความคิด" ของ "บุคคลสาธารณะ" บางคน เพื่อ "ยืนยันในความถูกต้อง" ของ "สิ่งที่ตัวเองเชื่อ" ว่านั่นคือ "ความจริง" ... ด้วยเหตุผลเพียงแค่ว่า "บุคคลที่เราเชื่อถือ" ก็ "เชื่อในสิ่งเดียวกันกับเรา" ... เหมือนกัน ... ??!! ... พร้อมทั้ง "สร้างความคาดหวัง" ขึ้นมาในใจของตนว่า คนอื่นๆ ก็ "น่าจะ" มองเห็นและเข้าใจในแง่มุมอันเป็น "ความจริงของเรา" นี้อย่างไม่ควรจะมี "ข้อโต้แย้ง" ใดๆ อีก ... เว้นเสียแต่ว่า "มัน" จะ "ดักดาน" อยู่กับ "เรื่องไม่จริงของมัน" จนเหมือนกับ "ควาย" หรือสิ่งอื่นใดที่ตน "เชื่อว่า" มี "ศักดิ์สถานะต่ำกว่าตน" เท่านั้น ... ???!!!! ... ซึ่งผมมองว่า ประเด็นแห่ง "ความขัดแย้ง" ทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนมีบ่อเกิดมาจาก "ตรรกะวิปลาส" อัน "เลื่อนลอย" จนต้อง "ยึดติด" อยู่กับ "ความเชื่อ" ล้วนๆ ของแต่ละกลุ่มแต่ละคนนั่นเอง ... !!? ... ส่วนในอีกมุมหนึ่งของ "ความรู้สึกเป็นพวกพ้อง" ก็กลายมาเป็น "ตรรกะ" ของบรรดาสื่อโฆษณาทั้งหลาย ที่นิยมนำเอา "บุคคลสาธารณะ" อันเป็น "ที่ยอมรับอยู่แล้ว" ในสังคมของแต่ละกลุ่มก้อน มา "สร้างกระแสความยอมรับ" ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างออกหน้าออกตานับตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณนู่นเลยทีเดียว !?! ...
ประเด็นของ "ความน่าเชื่อถือ" นี้เองที่ "น่าจะ" แผลงมาเป็น "กฎ-ระเบียบ" ต่างๆ ของบรรดาสถาบันทางสังคมทั้งหลาย ไล่ไปตั้งแต่สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มักจะกำหนด "รูปแบบมาตรฐาน" ของ เสื้อผ้า-หน้า-ผม, ตลอดจนถ้อยคำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม, หรือระเบียบพิธีกรรมอันเคร่งครัด, ฯลฯ, เพื่อสร้าง "ความมีอัตลักษณ์" ให้เป็นที่ "สะดวกใจ" แก่ "การยอมรับ" ของสาธารณะชน ... ส่วนในระดับขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ก็มักจะใช้ "เครื่องแบบ" เป็น "สื่อสัญลักษณ์" เพื่อให้สมาชิกอื่นๆ ในสังคม "ยอมไว้ใจ" แม้แต่ "คนแปลกหน้า" ที่อยู่ใน "เครื่องแบบ" เหล่านั้น ... หรือแม้แต่ในด้านของสถาบันวิจัยต่างๆ ก็มักจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ "มาตรฐาน" ของ "ระเบียบวิธีการค้นคว้า" ของสถาบันเอาไว้ ... เพื่อ ... "สร้างความน่าเชื่อถือ" ... เท่านั้นเอง ... รึเปล่า ??!! ... ฯลฯ ... เหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างของ "กระบวนความเชื่อ" ที่ถูกสังคมเรียกให้ดูมี "ความเป็นตรรกะ" มากขึ้นว่า "กระบวนการทางความคิด" ที่ "น่าจะ" ฝังลึกอยู่ในระดับ DNA ของ "สัตว์สังคม" อย่างมนุษย์ และเป็น "ช่องโหว่" สำคัญที่บรรดา Social Engineering Experts ใช้เพื่อการ "แฮ็ค" (hack) เข้าไปดำเนินการบางอย่างกับ "กระบวนทัศน์ทางสังคม" เสมอมา ... !!!??!!! ...
... เชื่อกูเหอะว่ามันจริง เพราะใครๆ เขาก็เชื่ออย่างที่กูเชื่อนี่แหละ ขนาดคนที่มึงเชื่อก็ยังเชื่ออย่างที่กูเชื่อนี่เลย ... มึงจะไม่เชื่อก็ตามใจนะ แต่กูรู้ว่าถ้ามึงทบทวนให้มันดีๆ มึงก็จะเชื่ออย่างที่กูเชื่อนี่แหละ เพราะมันเป็นเรื่องจริงที่ใครๆ เขาก็เชื่อกัน ... !!??!! ...
ครั้นจะบอกว่า "ทุกความเชื่อ" ของ "ทุกศาสนา" ... "ทุกอุดมการ" ของ "ทุกสำนักคิด" ... "ทุกแบบจำลอง" ของ "ทุกสถาบัน" ... ฯลฯ ... ล้วนอาศัย "ตรรกะ" แห่ง "สันดานสัตว์หมู่" ในการก่อกำเนิดด้วยกันทั้งนั้น ... มันอาจจะหยาบคายจนแสลงประสาทสัมผัสของ "นักคิด" เกินไปมั้ยก็ไม่รู้นะครับ ?!?!?! ... 😈 ... แต่มึงเชื่อกูเหอะว่ามันจริง ... กูรับรองได้ ... หรือมึงจะให้กูสาบาน ??!! ... 😄
หลายวันกับการใช้ "แทบเล็ด"
หยิบๆ จับๆ กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า "แทบเล็ด" อยู่หลายวัน เพราะคิดว่าราคามัน "เริ่มจะสมเหตุผล" กว่าก่อนหน้านี้พอสมควรแล้ว ... ประมาณว่า กำลังคิดจะเอา "แทบเล็ด" มาใช้แทนแฟ้มเอกสาร กับการหอบเล่มหนังสือไปอ่านที่ไหนต่อที่ไหนให้สบายกล้ามเนื้อที่ไม่ค่อยจะมีของตัวเองซะมั่ง ... ก็น่าจะดี !!? ... 😋
ไม่น่าเชื่อว่า ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปีหลังจากการเปิดตัวอุปกรณ์ประเภทนี้โดย Apple และ Amazon ด้วยวัตถุประสงค์ที่คล้ายๆ กัน เครื่องไม้เครื่องมือเหล่านี้ได้กลายเป็นสินค้ายอดฮิตติดมือผู้บริโภคไปแล้วอย่างบ้าคลั่ง ไม่ว่าลูกเด็กเล็กแดง หรือบรรดาอาซิ่มอากู๋อาเจ็กทั้งหลาย ไม่เว้นแม้แต่นักบวชจำนวนมากที่เคยพบเห็น ... ฯลฯ ... ล้วนสมัครสมานสามัคคีเข้าเป็นสมาชิกใน "สังคมก้มหน้า" แล้วเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ... ต่อๆ ไป มนุษย์เราเรียนรู้ในการจดจำรูปขวัญบนกบาลของเพื่อน แทนการจำหน้าจำตาของกันและกันรึเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกันนะเนี่ย ??!! ... 😈
หลายวันที่ผมทดลองกับอุปกรณ์ดังกล่าว ด้วยการ "ยัด" ไฟล์หลายๆ ประเภทเข้าไปในหน่วยบันทึกข้อมูลขนาดจิ๋วๆ ใน "แทบเล็ด" ที่ซื้อมา เพื่อที่จะเปิดดูเปิดอ่านเหมือนกับที่เขา "โฆษณาชวนเชื่อ" กันว่า มันคืออุปกรณ์ที่จะมาแทน "เล่มหนังสือ" ซึ่งหลายคนคุ้นมือคุ้นตากันมานานแสนนาน ... แต่ผมกลับคิดว่า ... มันแย่ว่ะ !! ... จะว่ามี "อาการยึดติด" อยู่กับกองหนังสือน้ำหนักหลายตันของตัวเองก็คงไม่จริงซะทีเดียวนัก เพราะผมมีความรู้สึกว่า "แหล่งกำเนิดแสงสว่างสำหรับการอ่าน" มันผิดที่ผิดทางเกินไปหน่อย ซึ่งมันส่งผลให้ระยะเวลาที่ใช้เพื่อการอ่านต้องหดสั้นลงอย่างไม่น่าพอใจเลย !!??!! ... มันไม่น่าจะใช่ "เล่มหนังสือแห่งอนาคต" แน่ๆ แล้วล่ะ ... แต่มันคือ "อุปการณ์" ที่จะบั่นทอน "ความอยากอ่านหนังสือ" ของมนุษย์ให้ลดลงไปให้เหลือเพียงแค่ "การอ่านข้อความสั้นๆ อย่างฉาบฉวย" มากกว่า ... ผมรู้สึกของผมอย่างนั้นจริงๆ !!?? ... แล้วก็เลยพานคิดไปว่า ... เพราะอย่างนี้มั้ง หลายคนถึงได้เปลี่ยนไปสื่อสารผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย "สติ๊กเกอร์" แทน ??!! ... 😳
ถึงแม้ว่าผมเองก็ค่อนข้างจะเห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า อุปกรณ์เหล่านี้สามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้เป็น "สื่อการเรียนการสอน" ได้อย่างยน่าสนใจ แต่มันคงไม่เหมาะกับการนำไป "ทดแทนเล่มหนังสือ" จนหมด เพราะเชื่อว่ามันคงไม่สามารถ "ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน" ให้กับเด็กๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ด้วยเหตุผลของ "ข้อจำกัดด้านกายภาพ" ของสายตามนุษย์ ที่ไม่เหมาะกับการจ้องเข้าไปหา "แหล่งกำเนินดแสงสว่าง" ตรงๆ อย่าง "แทบเล็ด" ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ... ยิ่งไม่ต้องเอ่ยถึง "การปลูกฝังนิสัยรักการเขียน" เลยด้วย เพราะเครื่องไม้เครื่องมือที่ "แทบเล็ด" มีอยู่ในปัจจุบัน (ค.ศ.2013) ยังไม่ถือว่าเพียงพอสำหรับการเขียนอะไรๆ อย่างต้องมีสติให้เป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ เลย ... !!?
จะบอกว่าเป็นเพราะผมไม่คุ้นเคยกับการทำอะไรๆ บนหน้าจอ LCD นานๆ รึเปล่า ?! ... ผมก็ยังรู้สึกว่า ถึงผมจะใช้คอมพิวเตอร์เกือบตลอดทั้งวันในหลายปีที่ผ่านมา ระดับการตอบสนองของสายตาของผมก็ยังไม่เลวร้ายเท่ากับการมองหน้าจอ "แทบเล็ด" เพียงไม่กี่นาทีด้วยซ้ำ ... มันทำให้ผมคิดว่า น่าจะต้องมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่างที่ยังทำให้ "แทบเล็ด" ไม่คู่ควรกับการเป็นอุปกรณ์สำหรับ "การอ่าน" หรือ "การต้องเพ่งมอง" เป็นเวลานานๆ เมื่อเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาประเภทอื่นๆ เท่าที่ผมเคยใช้มา ... อาจจะเป็นเพราะขนาดของอุปกรณ์ที่เล็กลงอย่างเห็นได้ชัด ??! ... อาจจะเกี่ยวกับระยะห่างจากสายตาซึ่งทำให้แสงสว่างพุ่งกระทบสายตาด้วยความเข้มข้นที่มากกว่า ??! ... หรืออาจจะเกี่ยวกับมุมที่จอกระทำต่อระดับสายตาซึ่งมีความก้มมากกว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์ประจำโต๊ะทำงาน ... ??!! ... หรืออาจจะมีปัจจัยอื่นๆ อีกบ้างรึเปล่าก็ไม่รู้ เพราะผมยังนึกไม่ออกในเวลานี้ ... !!?
อย่างไรก็ตาม ทิศทางของการบริโภคอุปกรณ์ประเภทนี้ก็คงหลีกเลี่ยงได้ยากแล้วว่า คอมพิวเตอร์พกพาในอนาคตคงจะมีขนาดและหน้าตาประมาณ "แทบเล็ด" ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน และสำหรับคนที่มีธุระปะปังกับคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ก็คงต้องพยายามปรับตัวเข้าหาอุปกรณ์ประเภทนี้ให้มีความคุ้นเคยกันมากขึ้น ซึ่งผมก็ได้แต่หวังว่า คุณภาพของจอแสดงผลในอุปกรณ์ประเภท "แทบเล็ด" คงจะได้รับการพัฒนาให้ "บ่อนทำลายสายตา" น้อยลงไปกว่านี้เรื่อยๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เหล่านี้เกือบจะตลอดเวลาในอนาคต ...
Identically Different : แตกต่างกันยังก๊ะแกะ !!?
Book Title: Identically Different |
ผมซื้อหนังสือเล่มนี้มาด้วยเหตุผลเดียวเลยครับ คือ ... อยากอ่านไง !! ... 😅 ... เพราะจริงๆ แล้วก็มีบางเล่มที่ผมซื้อมาเพราะอยากเก็บเฉยๆ อยู่เหมือนกัน ... 😋 ... แต่ถ้าจะว่ากันตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การตั้งชื่อหนังสือว่า Identically Different ก็เป็นการเล่นคำที่มี "ความขัดแย้งในตัวเอง" ได้อย่างน่าสนใจพอสมควร ประกอบกับชื่อรองที่เขียนไว้ว่า Why You Can Change Your Genes ก็สื่อความหมายที่ค่อนข้างจะเจาะจงว่า Tim Spector กำลังจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับ "ยีน" ของมนุษย์อย่างพวกเราๆ นี่แหละ ... ประมาณว่า ... ทำไมเราจึงสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้ ?!
ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เชื่อในเรื่องของ "การแบ่งชนชั้น-วรรณะโดยชาติกำเนิด" จึงไม่เคยคิดว่า มนุษย์ทั้งหลายล้วนถูกกำหนดให้เป็น "บุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งโดยลักษณะทางพันธุกรรม" ของพวกเขา แม้ว่าลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่ของมนุษย์ จะมีการพัฒนาไปตามรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้แล้วอย่างตายตัวในระดับใดก็ตาม ... เพราะผมเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนล้วนเป็น "เวไนยสัตว์" คือเป็น "สัตว์ที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้เสมอ ในระดับที่ไม่ขัดแย้ง หรือไม่ฝืนต่อธรรมชาติอันจริงแท้แห่งกายภาพของตน" ตามคติความเชื่อแบบพระพุทธศาสนา ... โดยผมต้องการจะเน้นย้ำว่า ... "ในระดับที่ไม่ขัดแย้ง หรือไม่ฝืนต่อธรรมชาติอันจริงแท้แห่งกายภาพของตน" ด้วย ... เพราะผมยังคงมีความรู้สึกว่า มันน่าจะมี "สิ่งผิดปรกติ" บางอย่างใน "กระบวนทัศน์" ของ "ความผิดเพศ" ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในสังคมยุคปัจจุบัน ... เช่นเดียวกับที่ผมไม่เคยเชื่อในเรื่องของ "อิทธิปาฏิหาริย์" อันเนื่องมาจาก "การฝึกฝน" ที่จะทำให้มนุษย์สามารถเหาะเหินเดินอากาศ หรือเคลื่อนย้ายมวลสารใดๆ จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยไม่อาศัยอุปกรณ์เสริมใดๆ ดังที่ปรากฏในบันทึกอภินิหารทั้งหลายทั้งปวง ... เพราะมันล้วนเป็นสิ่งขัดแย้ง และฝืนต่อข้อเท็จจริงทางกายภาพอย่างไม่น่าเชื่อถือนั่นเอง !!??
ความจริงแล้ว สังคมในยุคปัจจุบันมี "ข้อขัดแย้ง" หลายอย่างใน "กระบวนทัศน์" แบบ "เสรีนิยมสุดโต่ง" เกี่ยวกับ "ชาติกำเนิด" ... เพราะในด้านหนึ่ง เราไม่ยอมรับในเรื่องของ "การแบ่งชนชั้น-วรรณะโดยชาติกำเนิด" ด้วย "เหตุผล" ที่ว่า มนุษย์ทุกคนล้วนมี "เสรีภาพ" ใน "การเลือก" วิถีชีวิตของตนเอง ตามความเหมาะสมแห่ง "ภูมิปัญญา" และ "ความสามารถ" ของแต่ละคน ที่ล้วนแต่สามารถพัฒนาขึ้นมาได้ในภายหลัง ... แต่เรากลับยอมรับ "กระบวนทัศน์" ที่เชื่อว่า มนุษย์มี "อิสระ" ใน "การเลือกเพศของตน" อันเนื่องมาจาก "ลักษณะทางพันธุกรรม" ที่ถูก "กำหนดไว้แล้วอย่างตายตัว" ไม่ว่าลักษณะทางกายภาพจะบ่งชี้ไปในทางใดทางหนึ่งก็ตาม ... ??!! ... ทำไม ??!! ... มันต่างอะไรกับคำว่า "ชาติกำเนิด" หรือ "ชะตากรรม" งั้นเหรอ ... ??!! ... หรือ "เสรีภาพ" จะหมายถึง "การยอมรับความจริงด้านหนึ่ง" แล้ว "ปฏิเสธความจริงอีกด้านหนึ่ง" ของ "ความจริงเดียวกัน" ... ??!! ... มนุษย์มี "เสรีภาพ" ในการ "เปลี่ยนแปลงความจริง" ไปตาม "แรงกระตุ้นในกมลสันดานของตน" อย่าง "ไร้ขอบเขตจำกัด" ใดๆ เลยรึเปล่า ... ??!! ... งั้นทำไมถึงไม่ปลูกขนขี้เต่าตัวเองให้ยาวๆ เพื่อจะบินได้อย่างนก จะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานฟอสซิลไปกับการใช้ยานพาหนะทางอากาศซะเลยล่ะ ??!!
ทั้งหมดนั่นไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของหนังสือหรอกครับ !! ... 😁 ... ผมเพียงแต่แว้บขึ้นมาเฉยๆ จากการเห็นแค่ปกของมันเท่านั้นเอง ... 😜 ... จริงๆ แล้ว Tim Spector ต้องการจะเล่าแค่ว่า "ยีน" ของมนุษย์นั้น มีผลต่อ "ความรู้สึกนึกคิด" และ "บุคลิกภาพ" ของแต่ละคนเพียงแค่ "บางส่วน" เท่านั้น ที่เหลือ เป็นเรื่องของ "การอบรมเลี้ยงดู" และ "สภาวะแวดล้อม" ซึ่งจะเป็น "ปัจจัยในการหล่อหลอม" บุคคลแต่ละประเภทขึ้นมา ... ประมาณว่า nature : nurture = 50:50 หรืออาจจะถึงขั้น nature : nurture = 40:60 ด้วยซ้ำไป ... ดังนั้น ... ความเชื่อที่ว่า nature หรือ nurture คือ "จอมเผด็จการ" ที่สามารถบ่งชี้ "ความเป็นบุคคลแต่ละประเภท" อย่าง "เบ็ดเสร็จเด็ดขาด" นั้น คือ "กระบวนทัศน์" ที่ล้วน "ไม่สมประกอบ" ด้วยกันทั้งสิ้น !!?? ... ซึ่งผมก็กะๆ เอาเองว่า มันน่าจะประมาณอย่างนั้นโดยไม่ต้องทำการค้นคว้าวิจัยใดๆ ... แล้วยังทะลึ่งอยากจะอ่านหนังสือเล่มนี้ไปทำไม (วะ) ??!! ... 😄 ... เก้าะ ... เพราะ "ยีน" มันมีผลต่อ "ชะตากรรม" ของมนุษย์ตั้ง "ประมาณกึ่งหนึ่ง" เชียวนะ (โว้ย) !!?? ... การทำความรู้จักกับมันซักหน่อยก็น่าจะมีอะไรให้รู้เรื่องมากกว่าการอ่าน "หนังสือสรุปข้อมูลทางสถิติ" ที่เรียกว่า "ตำราหมอดู" มั้ง ??!! ... รึเปล่าไม่รู้ ?! ... 😋
คืองี้ครับ ... พอมนุษย์เรามัน "อยาก" จะทำอะไรขึ้นมา มันก็จะพยายาม "สรรหาเหตุผล" มา "สนับสนุนความอยาก" ของมันเองไปเรื่อยเปื่อยอย่างนี้แหละครับ ... ซึ่งมันอาจจะเป็น "กมลสันดานโดยยีน" ก็ได้นะ !!?? ... 😁 ... เพราะฉะนั้น ... อย่าอวดตัวว่าฉลาดแสนรู้ ... อย่าอ้างตัวว่าแก่กล้าอุดมการ ... อย่าแสดงตัวว่าเจนจัดโชกโชนในชีวิต ... ฯลฯ ... คนทุกคนล้วนเป็น "นักคิด" ด้วยกันทั้งนั้น ... เป็น "นักคิด" ใน "การสรรหาเหตุผล" มา "สนับสนุนแรงกระตุ้นในกมลสันดานของตน" ทั้งนั้นแหละ ... รู้ป้ะ ??!! ... 😈 ...
ประเทศ "คงจะ" พัฒนา ... มั้ง ??!!
บังเอิญว่า 3-4 วันก่อน ผมมีโอกาสได้มาเที่ยวเล่นที่เมืองกวางเจา (廣州) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่ได้รับ "การพัฒนา" อยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศจีนในปัจจุบัน ... เก้าะ ... เป็นเมืองใหญ่ และได้รับ "การพัฒนา" จน "เจริญ" สมคำร่ำลือจริงๆ ล่ะครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง หรืออาคารบ้านเรือนต่างๆ ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย ล้วนมีความสูงใหญ่แน่นหนาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า "เมืองที่เจริญแล้ว" ในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ ... และความรู้สึกแรกๆ ของใครหลายๆ คนที่เพิ่งเดินทางมาถึงเมืองกวางเจา (廣州) ในปัจจุบัน ก็คงจะไม่แตกต่างไปจากนี้มากนัก ... นี่คือ "เมืองที่เจริญแล้ว" จริงๆ ... มั้ง ... ??!!
... มั้ง ... ??!!
มันคือหนึ่งพยางค์สั้นๆ ที่จู่ๆ ผมก็เติมมันเข้าไปท้าย "ความรู้สึก" ของตัวเอง เพราะผมเกิดคำถามที่แว้บขึ้นมาในใจว่า ... เรากำลังใช้อะไรเป็น "เกณฑ์การประเมินความเจริญ" ของบ้านเมืองกันแน่ ??!! ... ถ้าเราถ่ายรูปของสภาพบ้านเมืองในกวางเจา (廣州) ที่เราเห็นอยู่ขณะนี้ แล้วนำไปกองรวมกับภาพถ่ายของ "บ้านเมืองที่เจริญแล้ว" อื่นๆ เรายังจะสามารถจำแนกออกมั้ยล่ะว่า ภาพไหนเป็นภาพถ่ายของเมืองอะไร ??!! ... ทำไม "เมืองที่เจริญแล้ว" ในความหมายของคนทั่วๆ ไป มันถึงได้มีหน้าตาที่เหมือนๆ กันไปหมด ??!! ... ทำไมมันถึงได้ "สิ้นไร้ความมีอัตลักษณ์" และดู "ปราศจากรสนิยมที่แตกต่างกัน" ซะขนาดนั้น ??!! ... หรือ "ความเจริญของบ้านเมือง" มีได้แค่แบบเดียว คือ "แบบที่เหมือนของชาติตะวันตก" เท่านั้น ??!! ... ใครเป็นผู้กำหนด "ค่านิยม" ดังกล่าวขึ้นมาในความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วๆ ไป ??!! ... แล้ว "ค่านิยม" แบบนั้นก็คือ "สัจธรรมที่ถูกต้องแล้ว" ... งั้นเหรอ ??!! ... ฯลฯ ...
คำถามที่แว้บขึ้นมาเหล่านี้ ล้วนเป็นคำถามที่ชวนให้ผมนึกถึงคำว่า "ประเทศพัฒนาแล้ว" (developed country), "ประเทศกำลังพัฒนา" (developing country), และ "ประเทศด้อยพัฒนา" (undeveloped country) ตามคำจำกัดความขององค์การสหประชาชาติ ... ซึ่ง "ประเทศพัฒนาแล้ว" โดยส่วนใหญ่ ก็จะหมายถึงประเทศของชาวตะวันตก หรือประเทศที่มีสภาพบ้านเมืองและสังคมแบบเดียวกับชาวตะวันตกไปแล้ว ... ในขณะที่ "ประเทศกำลังพัฒนา" ก็คงจะหมายถึงประเทศที่ "กำลังทำตามอย่างชาติตะวันตก" แต่ "ยังไม่ค่อยจะเหมือน" ซะทีเดียว ... 😋 ... ส่วน "ประเทศด้อยพัฒนา" ก็น่าจะหมายถึง "ประเทศที่ยังไม่ยอมรับแนวคิด และวัฒนธรรมแบบชาวตะวันตก" ... รึเปล่า ??!! ... มันทำให้ผมคิดว่า เราควรจะต้องมี "ประเทศคงจะพัฒนา ... มั้ง ??!!" ขึ้นมาเป็นอีกกลุ่มหนึ่งด้วย ... ดีกว่ามั้ย ??!! ... 😃 ... เพื่อให้ "ระบบนิเวศทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ" มี "ความหลากหลาย" ในการพัฒนา "ความเจริญของบ้านเมือง" ที่ไม่คับแคบอยู่ใน "กรอบคิด" ของ "คำจำกัดความ ที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบัน ??!!
อย่างไรก็ตาม หากเราเลือกพิจารณาจาก "ความสะอาดของลำน้ำกับความเจริญของชาติ" เหมือนอย่างที่ผมเคยเขียนเป็นบันทึกเอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เราก็คงจะต้องยอมรับครับว่า เมืองกวางเจา (廣州) ที่มีลำน้ำจูเจียง (珠江) ซึ่งมีความยาวเป็นอันดับสามของประเทศจีนไหลผ่านเป็นสายน้ำหลักนั้น คือ "บ้านเมืองที่เจริญแล้ว" เมืองหนึ่งของโลกจริงๆ เพราะเราจะมองเห็นลำน้ำซึ่งเป็น "สาธารณะสมบัติของชาติ" ที่สะอาดสะอ้านสวยงาม ไม่มีอาการเน่าเหม็นอันเนื่องมาจาก "ความักง่ายของคนในชาติ" ที่แม้ว่าจะมีชื่อเสียงฉาวโฉ่ในเรื่องของ "ความเห็นแก่ตัว" และ "ความไม่ใส่ใจในสุขลักษณะของสังคมเลย" ก็ตาม ... แต่ "สำนึกในความเป็นชนชาติ" ในเรื่องนี้ของพวกเขา ก็แทบจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็น "ประเทศด้อยพัฒนา" ในทันทีที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเปรียบเทียบกันเลยทีเดียว !!?? ... 😥
เมืองกวางเจา (廣州) มีปัญหาเกี่ยวกับการจราจร อันเนื่องมาจากความหนาแน่นของจำนวนประชากร เช่นเดียวกับเมืองใหญ่ๆ ในอีกหลายๆ ภูมิภาคของโลกเหมือนกัน แม้ว่าจะมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขึ้นมารองรับ พร้อมๆ กับการขยายพื้นผิวการจราจรให้มีมากขึ้นตามปริมาณของยานพาหนะ และจำนวนประชากรแล้วก็ตาม แต่ผลลัพธ์ก็แทบจะไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมากนัก เพราะมันไม่สามารถรองรับ "การขยายตัวของความอยาก" ในประชากร ซึ่งมี "ศักยภาพทางเศรษฐกิจ" ที่สูงขึ้น จาก "การพัฒนาบ้านเมือง" ในทิศทางเดียวกับ "ประเทศทุนนิยม" อื่นๆ ... เพราะไม่ว่ารัฐบาลจะกำหนดระเบียบปฏิบัติใดๆ ขึ้นมา สำหรับให้ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม เพื่อพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้ ... แต่หาก "กรอบคิดของกลไก" ยังคงผูกติดอยู่กับ "เงิน" ซึ่งถูกนำมาใช้เป็น "สื่อกลาง" สำหรับ "การให้รางวัล" และ "การลงโทษ" ด้วยแล้ว ปัญหาหลายๆ อย่าง ของ "สังคมเมือง" ก็คงยากที่จะได้รับการเยียวยาแก้ไข ... ประมาณว่า ... เสมือนหนึ่งเป็น "การรักษาด้วยยาที่ผิดขนาน" ซึ่งไม่ต่างไปจากการปล่อยให้โรคร้ายต่างๆ ค่อยๆ กัดกร่อนสุขภาพจนทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ โดยไม่ทำการรักษาใดๆ เลยนั่นเอง ... !!??
สิ่งหนึ่งที่ชาวต่างชาติอาจจะไม่ค่อยคุ้นกับ "สังคมออนไลน์แบบจีน" ก็คือ รัฐบาลของพวกเขาอนุญาตให้ "ผู้ที่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล" เท่านั้นเป็นผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งก็ทำให้ทั้ง Google, Youtube, Facebook, (และอาจจะมีรายอื่นๆ อีกบ้างเหมือนกัน) ล้วนไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงประชาชนคนจีนในผืนแผ่นดินใหญ่อย่างเด็ดขาด และผลลัพธ์ของ Search Engine ที่ได้รับอนุญาตไม่ว่าจะเป็น Bing หรือ Yahoo ก็ล้วนแล้วแต่แสดงผลออกมาเป็นภาษาจีนเกือบทั้งหมด ... เรียกได้ว่า ข้อมูลออนไลน์ทั้งหลายที่ชาวต่างชาติอาจจะมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าชาวจีนอยู่บ้างนั้น ล้วนถูกรัฐบาลจีนสกัดกั้นจนทำให้คนจีนทั้งประเทศ สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างคล่องแคล่วกว่าชาวต่างชาติทั้งหลายในแผ่นดินเกิดของพวกเขาเอง และกลายเป็นข้อได้เปรียบที่ชาวต่างชาติโดยทั่วไปในปัจจุบันแทบจะกระอักเลือดกันเลยทีเดียว ... แบบนี้จะเรียกว่า "เผด็จการเพื่อประชาชน" ได้รึเปล่าก็ไม่รู้นะ ??!! ... 😊 ... ส่วนพวกสื่อลามกทั้งหลายนั้นยิ่งไม่ต้องเอ่ยถึงล่ะครับ เพราะแทบจะหายเหี้ยนไปจนเกือบจะเรียกได้ว่า เป็นสังคมออนไลน์ที่มี "มลภาวะทางวัฒนธรรม" อยู่ในระดับที่ต่ำถึงต่ำมากจริงๆ ... 😉
สำหรับโปรแกรมที่ขาดหายไปไม่ได้เลยสำหรับทัวร์ไทยก็คือ "การช็อปปิ้ง" ซึ่งในปัจจุบันนี้ การซื้อขายสินค้าในเขตตัวเมืองของจีนจะไม่ค่อยมีการบอกราคาผ่านๆ เพื่อการต่อรองอย่างบ้าบอเหมือนกับการซื้อขายสินค้าพื้นเมืองในเขตชนบทอีกแล้ว จึงทำให้มาตรฐานของราคาสินค้าดูจะมีความเสถียรมากกว่าเดิม แม้ว่าจะมี "สินค้าปลอม" หรือ "สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์" วางขายกันอย่างกลาดเกลื่อนเหมือนไม่กลัวฟ้าไม่อายดิน แต่นั่นก็ดูจะเป็นสีสันแบบใหม่ที่แม้แต่นักท่องเที่ยวจาก "ดินแดนแห่งเสรีภาพอันมีลิขสิทธิ์เป็นประมุข" รู้สึกสนุกสนานไปกับการได้เดินช้อปปิ้งในตลาดแบบนี้พอสมควร ... ซึ่งเราก็คงต้องยอมรับใน "ความมีมาตรฐานเดียว" ของนักปลอมแปลงสินค้าเหล่านั้นในระดับหนึ่ง เพราะแม้แต่สินค้าแบรนด์เนมของคนจีนด้วยกัน ก็ไม่ได้รับการยกเว้น หากเป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่โตมโหฬารในประเทศของพวกเขา ...
หากจะถามว่า รัฐบาลจีนให้ความเอาใจใส่กับเรื่อง "สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์" เหล่านี้แค่ไหน ??!! ... ผมคิดว่าพวกเขาเองก็น่าจะเอาใจใส่กันพอสมควรอยู่ล่ะครับ เพียงแต่พวกเขาอาจจะมี "มิติทางความคิด" ที่แตกต่างไปจากบรรดา "เจ้าของลิขสิทธิ์ผูกขาด" ทั้งหลายอยู่บ้างเท่านั้น เพราะแม้แต่ผมเองก็ยังมีความรู้สึกในบางกรณีเหมือนกันว่า "ลิขสิทธิ์" หรือ "สิทธิบัตร" ในสินค้าบางกลุ่มบางจำพวกนั้น คือ "การผูกขาดเพื่อเอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน" อันมีผลให้ "การละเมิดลิขสิทธิ์" ในหลายๆ กรณี มี "ความชอบธรรม" ในแง่ของ "การต่อต้านการผูกขาด" เพื่อผดุงไว้ซึ่งสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ... นั่นอาจจะเป็น mindset ที่แตกต่างกันระหว่าง "ทุนนิยม" (Capitalism) แบบ proprietary กับ "สังคมนิยม" (Communism) ที่เน้นความเป็น community มากกว่าการปล่อยให้ทุนไหลไปกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มบุคคลเพียงหยิบมือเดียว ดังปรากฏให้เห็นอยู่แล้วใน "ประเทศทุนนิยม" อื่นๆ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา, และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป, ฯลฯ, หรือแม้แต่ "ประเทศคงจะพัฒนา ... มั้ง ??!!" อย่างประเทศไทย ที่นอกจากความเป็น domestic proprietary ไม่ค่อยจะสูงอยู่แล้ว ความเป็น community ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอีกต่างหากด้วย !!? ... 😔
ผมมีความรู้สึกว่า แต่ละท้องถิ่นล้วนมีปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในท้องถิ่นนั้นๆ ที่แตกต่างกันไป ... ระดับของความรู้, ความเข้มข้นของการศึกษา, และวิถีแห่งจิตสำนึกของชุมชน, ตลอดจนหลักยึดทางจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อความศรัทธาในปรัชญาและศาสนา หรืออุดมการทางการเมือง, ฯลฯ, ล้วนมีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน ... ผมเชื่อว่า ... สังคมทุกสังคมล้วนมี "สิ่งที่เลวร้าย" หากเรานำมันมา "เปรียบเทียบ" กับ "ความนิยมชมชอบ" อันเป็น "ความคุ้นชิน" แบบของเราที่แตกต่างไปจากของพวกเขา ... ในขณะที่ทุกสังคมย่อมต้องมี "แง่มุมที่น่ารัก" หากเรานำมา "เปรียบเทียบ" กับสิ่งที่เรา "ไม่สบอารมณ์" จากในสภาพแวดล้อมที่เรายังต้องประสบพบเห็นอยู่ ... นั่นคือ "วิถีการคิด" ของผู้ที่ได้สถาปนา "อัตตาตน" ให้เป็น "ศูนย์กลาง" แห่งจักรวาลและสรรพสิ่ง และตั้งสมมุติฐานทุกอย่างจาก "มุมมองอันคับแคบ" เฉพาะของตนเองเท่านั้น ...
ตลอดระยะหลายร้อยปีในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยนั้น เราพึงสังวรไว้ด้วยว่า เรายังไม่เคยมี "นักปรัชญาการเมือง" ของชนเผ่าตัวเองอย่างจริงๆ จังๆ เลยซักคนเดียว ... ??!! ... "นักคิด" หลายๆ คนในยุคสมัยของพวกเรา ล้วน "เรียนรู้แบบท่องจำ" แนวคิดและปรัชญาของชาวต่างชาติเอามาเล่าต่ออย่างหยามหยันและยกย่อง โดยแทบจะไม่เคย "ศึกษาประวัติของแนวคิด" เหล่านั้นเลยว่า แนวคิดหนึ่งๆ เกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อมทางสังคมแบบไหน ?!?! ... มีแรงบีบคั้นทางสังคมในแง่มุมใดบ้างในช่วงเวลานั้นๆ ??!! ... "นักคิด" ที่เราลอกเลียน "แนวคิด" ของพวกเขามานั้น มีพื้นเพอยู่ในฟากฝั่งไหนของสังคม ??!! ... แล้ว "แนวคิด" ของพวกเขา จะก่อประโยชน์ให้แก่ฝ่ายใด หรือริดรอนสิทธิประโยชน์ของฝ่ายใด ... เพื่อใครบ้าง ??!! ... ฯลฯ ... องค์ประกอบทั้งหลายทั้งปวงของแต่ละ "แนวคิด" ที่พวกเราอยากจะ "ดัดจริต" นำมาใช้นั้น มีอะไรบ้างที่สอดคล้องกับ "สภาวะแวดล้อมทางสังคม" แบบของเรา หรือมีอะไรบ้างที่ไปกันไม่ได้เลยกับ "สภาพความเป็นจริง" ที่ยังดำรงอยู่ในสังคมของเรา ณ ขณะเวลาหนึ่งๆ ??!! ... มีใครเคยได้ยินการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ในรายละเอียดแบบนี้จากลมปากของผู้ที่อ้างตัวว่าเป็น "นักคิดระดับหัวแถว" ของไทยมั้ยล่ะ ??!!
"ความเป็นชนชาติ" หนึ่งๆ คงไม่ใช่เพียงแค่การมี "ฝูงชน" ที่บังเอิญมาเกิดอยู่ในอาณาบริเวณอันเป็นเขตแดนของประเทศเดียวกันเท่านั้น ??!! ... "การสร้างชาติ" หนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์ของชนทุกชาติ ... ล้วนมีวันเวลาที่โหดร้าย ... ล้วนมีช่วงเวลาที่ทุกคนต้องเหนื่อยยากลำบาก ... ล้วนมีช่วงเวลาที่สุขสมและผ่อนคลาย ... ล้วนต้องมีกรอบ ... ต้องมีกฎ ... ต้องมีทิศทางที่กำหนดไว้อย่างแน่วแน่มั่นคง ... และมุ่งที่จะประพฤติปฏิบัติไปตามนั้นอย่างทุ่มเท ... จริงจัง ... ??!! ... สถานะของ "ประเทศคงจะพัฒนา ... มั้ง ??!!" อาจจะเป็น "การตั้งคำถาม" เพื่อให้เราต้องทบทวนหลักคิด และแนวทางในการปฏิบัติที่ควรจะได้รับการสานต่อ ... แต่มันก็อาจจะเป็นเพียง "วลี" เพื่อ "ทอดถอนใจ" อย่างสิ้นหวัง สำหรับสังคมในบางภูมิภาคของโลกได้เหมือนกัน ... ??!!
ขออุทิศบทบันทึกนี้แด่ "การฉลองวันชาติจีน" ในฐานะที่พวกเขาสามารถ "สร้างชาติ" ของตนขึ้นมาจากระบอบการปกครองอันไม่เคยเป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตกใดๆ เลยซักชาติเดียว ??!!
Empress Dowager Cixi
|
นี่คือหนังสือเล่มใหม่ของ Jung Chang ผู้เขียน Wild Swan และ Mao : The Unknown Story ที่ยังคงรักษามาตรฐานของการเป็น "ผู้ต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของประเทศจีน" อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในคราวนี้ เธอถึงกับรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ในยุคของ "พระนางซูสีไทเฮา" ขึ้นมาปัดฝุ่นซะใหม่ ด้วยการบอกเล่าถึงคุณงามความดี และคุณูปการที่พระนางเคยอุทิศไว้ให้กับการพัฒนาแผ่นดินจีนในรัชสมัยของพระองค์ ชนิดที่ไม่เคยมีใครเคยเอ่ยถึงมาก่อน เพราะเรื่องราวของ "พระนางซูสีไทเฮา" ล้วนถูกทาทับไว้ด้วยภาพลักษณ์ที่มีแต่ความชั่วร้าย และความเหลวแหลกต่างๆ นาๆ ... ตามทฤษฎีโบร่ำโบราณที่ว่า "ชนะเป็นเจ้า แพ้เป็นโจร" นั่นเอง !!? ... ซึ่งการกล่าวถึง "ด้านลบ" ของ "ประธานเหมา" ไว้ในหนังสือเล่มก่อนหน้า แล้วต่อด้วยการสรรเสริญ "ด้านบวก" ของ "พระนางซูสีไทเฮา" ไว้ในเล่มนี้โดย Jung Chang ก็คงจะมีจุดประสงค์ที่แฝงนัยทางการเมืองของยุคสมัยใกล้ปัจจุบันไว้ไม่มากก็น้อย ... และเชื่อว่า หนังสือเล่มนี้ก็คงจะได้รับความนิยมในซีกโลกตะวันตก และน่าจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่ค่อยจะสบอารมณ์ของคนซีกโลกตะวันออกเหมือนผลงานที่แล้วๆ มาของเธอ
โดยส่วนตัวแล้ว ผมมองว่าการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่เป็น "เชิงบวก" แบบนี้ น่าจะมีประโยชน์มากกว่า "การขุดคุ้ยเรื่องไม่ดี" ของบุคคลในประวัติศาสตร์มาเล่าขานกัน โดยเฉพาะการที่เจ้าตัวเขาไม่มีโอกาสลุกขึ้นมาชี้แจงหรือแก้ต่างใดๆ ได้เลย ... นั่นอาจจะเป็นเพราะผมเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนล้วนมีแง่มุมที่ดีและไม่ดีปะปนกันไปในช่วงชีวิตของแต่ละคนเสมอ ขึ้นอยู่กับ "ทัศนคติ" และ "วิจารณญาณ" ของผู้ที่ทำการสำรวจตรวจค้นชีวประวัติของบุคคลเหล่านั้นเป็นเกณฑ์ ... แม้ว่า "การขุดคุ้ยเรื่องไม่ดี" อาจจะมีประโยชน์อยู่บ้างในแง่ของ "ความเป็นคู่เปรียบเทียบ" เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ผู้ที่ต้องการจะศึกษาโดยทั่วๆ ไป แต่โดยมากแล้ว เราก็มักจะเห็น "การขุดคุ้ยเรื่องไม่ดีของฝ่ายตรงข้าม" เพียงเพื่อจะ "สร้างความชอบธรรมของฝ่ายตน" ให้เป็นที่ยอมรับได้เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับการเรียนรู้ใดๆ อย่างสร้างสรรค์ !!
ครั้งหนึ่ง จอมจักรพรรดิ "ฉินซีฮ่องเต้" หรือจักรพรรดินี "บูเช็กเทียน" ต่างก็เคยถูก "ป้ายสี" ให้เป็น จอมโฉดชั่วแห่งประวัติศาสตร์" มาก่อน แต่พระราชประวัติของท่านทั้งสอง ก็ได้รับ "การรื้อฟื้น" ด้วยทัศนคติแบบอื่นที่แตกต่างไปจากเดิม แม้ว่าเรื่องราวที่ได้รับ "การตีความใหม่" เหล่านั้น จะไม่สามารถลบล้างภาพลักษณ์อันโหดร้ายในยุคสมัยของทั้งสองพระองค์ออกไปได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยที่สุดก็ได้เปิดมุมมองใหม่ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์หนึ่งๆ ในบันทึกทางประวัติศาสตร์นั้น ไม่ได้มีมุมมองที่แน่นอนตายตัวอย่างที่ใครหลายคนมักจะยึดติดกัน ... ซึ่งเรื่องราวของ "พระนางซูสีไทเฮา" ก็ย่อมจะมีมุมมองที่เป็นไปได้ ทั้งใน "เชิงบวก" และ "เชิงลบ" เช่นเดียวกับบุคคลอื่นๆ ด้วยเหมือนกัน
ในแง่ของ "ความเป็นชนชาติ" ของอาณาจักรจีนอันกว้างใหญ่ ซึ่งมีชนเผ่าต่างๆ ที่รวมตัวกันเป็นประชากรจำนวนมหาศาล ตลอดช่วงระยะเวลาของประวัติศาสตร์อันยาวนานนั้น "อาจจะ" มีความไม่เหมาะสมบางประการสำหรับการปกครองด้วย "ระบอบประชาธิปไตย" แบบชาติตะวันตก ที่หลายต่อหลายคน "ถูกเสี้ยมสอนให้ยอมรับ" ว่า เป็น "ระบอบการปกครองที่เลวร้ายน้อยที่สุด" ... แต่สังคมจีนซึ่งผ่านร้อนผ่านหนาวของระบอบการปกครองต่างๆ มาตั้งแต่ยุคของการปกครองโดยจ้าวแคว้น มาสู่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช จนได้รับการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นประชาธิปไตยในช่วงระยะเวลาสั้นๆ (เพียง 37 ปี) ก่อนที่จะหวนคืนสู่ความเป็น "สังคมนิยมกึ่งเผด็จการ" แบบ "ลัทธิเหมา" โดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า พวกเขาสามารถหล่อเลี้ยงประชากรกว่า 1,000 ล้านคนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหนือกว่าชาติตะวัตกอื่นๆ ที่คอย "ยัดเยียด" แนวคิดของตนผ่านตำรับตำราและอาวุธ เพื่อให้ชาวโลก "ต้องยึดถือ" เป็น "ข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด" โดยไม่สนใจใยดีต่อสภาวะแวดล้อมทางสังคมที่แตกต่างกัน ... ทั้งๆ ที่ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศประชาธิปไตยต้นแบบทั้งหลายของซีกโลกตะวันตกนั้น ก็กำลังต้องประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ยากจะเยียวยาแก้ไขในปัจจุบัน ... !!??
ประวัติศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของ "พระนางซูสีไทเฮา" อาจจะเป็นข้อพิสูจน์หนึ่งที่ชนชั้นปกครองของประเทศจีนต้องเรียนรู้ว่า ต่อให้เป็นบุคคลที่เก่งกล้าสามารถเพียงใด และมีความทุ่มเทที่อุทิศให้กับประเทศชาติมากมายขนาดไหนก็ตาม ย่อมยากที่จะนำพาประเทศชาติอันประกอบด้วยประชากรจำนวนมากมายของพวกเขา ให้รุดหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ... การเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครองมาสู่ "ความเป็นสาธารณรัฐ" ที่ปกครองด้วย "ระบอบสังคมนิยมกึ่งเผด็จการโดยคณะบุคคลที่ได้รับการคัดสรร" อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ "น่าจะเหมาะสมกว่าสำหรับประเทศจีน" ซึ่ง "ท่านประธานเหมาเจ๋อตง" ได้ตัดสินใจลงไปเมื่อปี ค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) และได้รับการสานต่ออย่างมีพัฒนาการต่อมาอีกกว่า 60 ปีจนถึงปัจจุบัน (ค.ศ.2013 / พ.ศ.2556) ... การที่ใครต่อใครหลายคนจะพากันตัดสินว่า "ดี" หรือ "ไม่ดี" โดยอาศัยเพียง "ทฤษฎี" หรือ "ทัศนคติ" ของคนเพียงไม่กี่คน (ซึ่งเป็น "บุคคลภายนอกของประเทศจีน") นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สามารถรับฟังได้ แต่ไม่อาจยึดถืออย่างเป็นจริงเป็นจัง จนกว่าจะได้พิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ทุกๆ ประเทศล้วนมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันแล้วเท่านั้น !!
ความสะอาดของลำน้ำกับความเจริญของชาติ
ผมบังเอิญเติบโตมากับบ้านที่อยู่ริมคลอง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้อยู่ติดกับลำน้ำเพราะมีถนนกั้นกลาง แต่ก็อยู่ในระยะที่มองเห็นสภาพของลำคลองได้ตลอดทั้งวัน แล้ววันหนึ่ง ผมก็ถามกับตัวเองว่า ... "ประเทศนี้เมืองนี้จะนับว่าเจริญแล้วได้หรือไม่ ?" ... เพราะผมรู้สึกถึง "ความไม่รู้จักรับผิดชอบ" ของผู้คนส่วนใหญ่ที่อยู่ร่วมในชุมชนของพวกเรา ซึ่งสะท้อนออกมากับสภาพของลำน้ำอยู่ทุกวี่ทุกวัน !!!
ความสะอาดของลำน้ำกับความเจริญของชาติ เป็นภาพสะท้อนซึ่งกันและกันได้ในระดับหนึ่ง หากคนในชาติปราศจาก "จิตสำนึกที่ดี" ต่อชุมชน ไม่มี "ความรู้สึกร่วม" ใน "ความเป็นชนชาติ" มุ่งแต่ "ความมักง่าย" และ "ความสะดวกสบายส่วนตัว" นึกอยากจะทิ้งขยะมูลฝอย หรือปล่อยสิ่งโสโครกใดๆ ลงไปในลำน้ำที่เป็นสมบัติของส่วนรวมเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ใยดีว่า มันจะก่อความเสียหายในวงที่กว้างขวางขนาดไหน ... ผมก็เชื่อว่า ด้วย "จิตสำนึก" ในระดับที่เป็นอยู่เวลานี้ ประเทศชาตินั้นๆ ก็คงจะเจริญได้ยากมาก !!!
การช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของสมบัติส่วนกลาง ถือเป็นภาระกิจที่ "ง่ายมาก" ในระดับของปัจเจกบุคคล มันคือสิ่งที่ทุกๆ คนสามารถที่จะทำได้ โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย ... ซึ่งหาก "ความรับผิดชอบ" ในระดับนี้ยังทำไม่ได้ ... เราก็ต้องยอมรับว่า "จิตสำนึก" ใน "ความเป็นชนชาติ" ของประชาชนในประเทศนั้นๆ ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น และคงสร้างสรรค์ความเจริญใดๆ ได้ลำบากเต็มทน ... ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องของระบบเศรษฐกิจ ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องของตลาดหุ้นหรือตลาดทุน หรือกลไกทางกฎหมายใดๆ ให้ยุ่งยากแก่ความเข้าใจ ไม่สำคัญว่าประเทศนั้นเมืองนั้น เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ไม่ต้องไปสนใจว่ารัฐธรรมนูญถูกเขียนด้วยมือหรือเท้าข้างไหนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดๆ ในโลก ... ถ้า "จิตสำนึก" ที่รู้จักรับผิดชอบต่อส่วนรวม ยังสะท้อนออกมาเป็นความสกปรกโสโครกของลำน้ำสาธารณะ ... กฎหมายไหนๆ หรือระบอบการปกครองใดๆ ก็ไม่อาจที่จะทำให้ประเทศนั้นเมืองนั้น ได้รับการพัฒนาไปสู่ความเจริญใดๆ ได้เลย ... ตลอดกาล !!!