ทดสอบ EasyMimeTex 1.0 for gpEasy 3.6.0

8/5/2013 | Comments: 5

หลังจากแช่เย็น gpEasy อยู่ที่เวอร์ชั่น 3.5.2 มาซะนาน เพราะเข้าใจว่าเขาคงจะเลิกทำเจ้า CMS น่ารักๆ ตัวนี้ไปซะแล้ว (ก็เล่นไม่กระดุกกระดิกมาเป็นปีแล้วนี่นา) ... แต่จู่ๆ วันนี้ผมก็นึกอยากจะแว้บเข้าไปเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ของเขาซะหน่อย แล้วก็เลยถือโอกาส upgrade สิ่งที่อยู่ในเครื่องของตัวเองให้กลายเป็นเวอร์ชั่น 3.6.0 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดของ gpEasy พร้อมๆ กับหา plug-ins บางตัวมาทดลองเล่นอีกนิดหน่อย ... โดยมีหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ EasyMimeTex 1.0 ที่เอาไว้เขียน "สูตรคณิตศาสตร์" บนหน้าเว็บ

การติดตั้งเจ้า EasyMimeTex มีรายละเอียดมากกว่าการติดตั้ง plug-ins ตัวอื่นๆ ของ gpEasy อยู่เล็กน้อย โดยเราจะต้องไปเอาชิ้นส่วนที่เหลือมาจาก John Forkosh Associates Inc. แล้วคอมไพล์ขึ้นมาเป็น mimetex.cgi เพื่อเอาไปใส่ใน cgi-bin/ directory ของระบบก่อนที่จะสามารถใช้งานได้ตามที่เขาออกแบบเอาไว้

สำหรับขั้นตอนในการป้อนสูตรคณิตศาสตร์นั้น เราจะต้องป้อนด้วย html ผสมกับ TeX code ใน syntax แบบนี้ครับ ...
 

<img src="/cgi-bin/mimetex.cgi?สูตรที่ต้องการ">


... ตัวอย่างเช่น ...


<img src="/cgi-bin/mimetex.cgi?x=\frac{-b\pm\sqrt{b^2-4ac}}{2a}">


ซึ่งก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างนี้ ...
 


สังเกตนะครับว่า ผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะเป็น "รูปภาพ" (img) ซึ่งเราก็จะสามารถปรับให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามที่ต้องการ ... คราวนี้ การเขียน blog ที่มีส่วนผสมของสูตรคณิตศาสตร์ปนอยู่ในเนื้อหา ก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่ยากเย็นจนเกินไปนักแล้วล่ะ ... แล้วนี่ก็คือการทดลองเล่นกับสูตรคำนวณพื้นๆ ที่ผมเคยใช้งานจริงเมื่อหลายปีก่อน ...
 

The Formula for Net Cost in FOC Case

The simplest formula is :

                    ... (a)

 

When FOC is the same item as the bought ones :

                      ... (b)

 

If we timed and devided by 100 to (b)

                                  ... (c)

 

From ( a ) and ( c ), derive to the formulas ( d ) and ( e )
 

                    ... (d)
 

                      ... (e)

 

 

 

 

 


                   ... (f)

 

From (a) and (f), derive to the formula

       ... (g)

 

 

In case of the FOC item being varied from the bought ones. We'll replace the 2 List Cost in (g) with 2 different variables,



                      ... (h)

 

Whereas :
B = ListCost of any BOUGHT items
F = ListCost of FOC item
foc% = FOC Q'ty / 100


So, in case of FOC=20% the formula will be replaced as :

 

 

 

If we'd like to change the foc% but keeping the same NetCost, we'll requote formula (h) as
 

        for the First Price Set



     for the Second Price Set

 

Where the condition is N2 = N1. So ...

                         ... (i) 

 

 

In the case of  B=F (only F cost concerned), we got from ( c )


               , and then

 

 

                                   ... (j)


Replace F2 from (j) to (i)
 

 

 

 

 

 


 



                 ... (k)

 


Whereas:
B2 = The SECOND LIstCost of any BOUGHT items
B1 = The FIRST ListCost of any BOUGHT items
F1 = The FIRST ListCost of FOC item
foc1% = FIRST FOC Q'ty / 100
foc2% = SECOND FOC Q'ty / 100



 

ถามเหมือนไม่ถาม

25/5/2013

หลายปีมาแล้วที่ผมเปลี่ยนมาใช้งาน "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า Linux" ... ย้ำนะครับว่า "ผมไม่ได้ใช้ Linux" ... แต่ผมใช้งาน "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า Linux" ... ??!! ... แล้วมันต่างกันยังไงเหรอ ?! ... ต่างกันโคตรก็แล้วกัน !! ... :D

มันเป็น "ความเข้าใจผิด" ของหลายๆ คนที่มักจะเชื่อว่า ตัวเอง "กำลังใช้ระบบปฏิบัติการ" ตัวใดตัวหนึ่ง ทั้งๆ ที่โดยเนื้อแท้แล้ว แต่ละคนที่ปฏิบัติงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ล้วนแล้วแต่ "ใช้งานแอพพลิเคชั่น" หรือ "ใช้งานซอฟต์แวร์ประยุกต์" ที่ "ติดตั้งอยู่บนระบบปฏิบัติการ" เท่านั้น ไม่ได้ "ใช้งานระบบปฏิบัติการ" โดยตรงเลยซักครั้งเดียว !!?? ... แต่ด้วย "ความมักง่าย" ของการใช้ถ้อยคำเพื่อการสื่อสาร พวกเรามักจะตัดทอนวลียาวๆ ที่ว่า "ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่ง" เหลือเพียง "ใช้ระบบปฏิบัติการตัวนั้นตัวนี้" เช่น "ใช้ Windows", "ใช้ Mac", "ใช้ Linux", หรือ "ใช้ ไอ-เอส-โอ (ISO) ของ รมต. กระทรวงไอซีที (ปี พ.ศ.2556) ไปซะเลย ... :D ... จนในที่สุดก็กลายเป็น "การบั่นทอนความเข้าใจ" ของผู้คนที่สื่อสารด้วยจนไขว้เขวไปกันหมด !!

คืองี้ครับ ... ในโลกของ "ซอฟต์แวร์" (software) นั้น เขาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ เรียกว่า Operating Software หรือ Operationg System พวกนี้ก็คือประเภทที่แปลเป็นไทยว่า "ระบบปฏิบัติการ" ซึ่งจะมีกี่ระบบในโลกนี้ให้ไปลองถามผู้ "รู้แค่รอบๆ" อย่าง รมต กระทรวงไอซีที (ปี พ.ศ.2556) เอาเอง ... :D ... ส่วนอีกประเภทหนึ่งของซอฟต์แวร์นั้นเขาเรียกว่า Application Software ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า "แอ๊พ" หรือ "แอพพลิเคชั่น" โดยมีคำแปลไทยกึ่งทับศัพท์ว่า "ซอฟต์แวร์ประยุกต์" หรือ "โปรแกรมประยุกต์" นั่นเอง ... ความแตกต่างกันในระดับพื้นฐานของซอฟต์แวร์ 2 ประเภทนี้ก็คือ "ซอฟต์แวร์ประยุกต์" หรือ Application Software จะทำหน้าที่เป็น "ตัวกลาง" ระหว่าง "ผู้ใช้งาน" กับ "อุปกรณ์" ที่ประกอบกันขึ้นเป็น "เครื่องคอมพิวเตอร์" แต่ละระบบ โดยอาศัย "ชุดคำสั่งควบคุม" ที่ "ระบบปฏิบัติการ" หรือ Operating System หนึ่งๆ ใช้ในการสื่อสารกับ "อุปกรณ์ เหล่านั้น ... ถ้าจะเขียนเป็นข้อความกึ่งสัญลักษณ์ง่ายๆ ก็จะประมาณอย่างนี้ ...

 

ผู้ใช้ (user) ↔ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (applications) ↔ ระบบปฏิบัติการ (operation system) ↔ ส่วนประกอบในระบบคอมพิวเตอร์

 

เพราะฉะนั้น "ผู้ใช้" น่ะใช้งานแค่ "แอ๊พพลิเคชั่น" เท่านั้นครับ ในขณะที่ "แอ๊พพลิเคชั่น" คือสิ่งที่ต้องคอย "ประสานงาน" กับ "ระบบปฏิบัติการ" หรือ "ใช้งานระบบปฏิบัติการ" เพื่อให้ไปสั่งการ "อุปกรณ์อื่นๆ" อีกทอดหนึ่ง ... ไม่มีมนุษย์หน้าไหนเขา "ใช้งานระบบปฏิบัติการ" โดยตรงหรอกครับ !!?? ... เพราะฉะนั้น สิ่งที่ "ผู้ใช้" หนึ่งๆ ควรจะต้องสนใจก็คือ "ตัวเอง" นั่นแหละต้องการใช้ "แอ๊พพลิเคชั่น" แบบไหน ต้องมี "อุปกรณ์ต่อพ่วง" อะไรบ้างใน "งานที่ตัวเองต้องทำ" แล้วถึงจะระบุได้ว่า มี "ระบบปฏิบัติการ" ระบบไหนให้เราจะเลือกใช้ได้บ้าง ... ไม่ใช่เริ่มต้นที่การเลือก "ระบบปฏิบัติการ" นะครับ !!??!! ... ดังนั้น ... "คำถามที่เหมือนไม่ถาม" ประเภทที่ว่า "ใช้ Linux ดีมั้ย ?", "Windows กับ Mac อะไรดีกว่า ?", "Linux ใช้ยากรึเปล่า ?", "Linux ใช้งานได้ดีเทียบเท่ากับ Windows รึยัง ?", ฯลฯ ... เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ "ไร้สาระทั้งเพ" ครับ !!!!

เราไม่จำเป็นต้องไปสนใจตั้งแต่แรกหรอกครับว่าอะไรดีกว่าอะไร เพราะเราต้องเลือกจาก "แอ๊พพลิเคชั่น" ที่เรา "จะต้องใช้" ซึ่งถ้าสิ่งนั้นมันต้องติดตั้งอยู่บน "ระบบปฏิบัติการ" ตัวไหนอย่างเฉพาะเจาะจง เราก็ต้องใช้เจ้า "ระบบปฏิบัติการ" ตัวนั้นอยู่วันยังค่ำ ... จริงมั้ย ?! ... แต่ถ้าสิ่งเดียวกันนั้นมันมีอยู่ หรือมี "ตัวทดแทน" ที่สามารถติดตั้งบน "ระบบปฏิบัติการ" ได้มากกว่าหนึ่งระบบ ถึงแม้ว่าอาจจะ "เก่งไม่เท่ากัน" แต่ถ้ามัน "เพียงพอ" กับ "งานที่เราต้องใช้" ... มันก็คือ "ทางเลือก" ที่มากขึ้นสำหรับเราเท่านั้น ... แล้วยังต้องสนใจอีกมั้ยว่า "ตัวไหนดีกว่า ?" ... ข้อนั้นไม่รู้ล่ะครับ ... เพราะอยู่ที่เราจะเอาด้านไหนไปเทียบกับด้านไหนของซอฟต์แวร์แต่ละตัว ...

งั้น ... "ตัวไหนใช้ยาก-ใช้ง่ายกว่ากันล่ะ ?" ... มันก็ไม่มีอะไรที่ไม่ต้องผ่าน "กระบวนการของการเรียนรู้" อยู่แล้วนี่ครับ ยากหรือง่ายก็ขึ้นอยู่กับ "ความชื่นชอบ" ของแต่ละคน ... ไม่ต้อง "ถามเหมือนไม่ถาม" กับคนอื่นหรอกครับ ให้ "ถามตัวเอง" ว่า "ชื่นชอบ" ระบบไหนหรือซอฟต์แวร์ตัวใดมากกว่ากัน ... แล้วก็เริ่มเรียนรู้และฝึกฝนจาก "สิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ" นั้นซะ ... แล้วก็จงเข้าใจไว้ด้วยว่า จำนวนของ "ผู้ใช้งาน" นั้นมีมากกว่าจำนวนของ "ระบบปฏิบัติการ" หรือ "แอ๊พพลิเคชั่น" ของทั้งโลกรวมกันอยู่แล้ว ... เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปกังวลให้เสียเวลาหรอกครับว่า เราจะเป็นเพียงคนเดียวในโลกที่ดันไป "ชื่นชอบ" ในบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีใครคนอื่นเขาสนใจ ... เพราะมัน "เหลวไหล" ... ต่อให้เป็นไปได้ขนาดนั้นจริงๆ ... แล้วไง ??!! ... เราก็ต้องตัดสินใจด้วย "ตัวเอง" อยู่ดีล่ะครับว่า "อยากจะแห่ตามๆ คนอื่น หรืออยากจะยืนหยัดบนความเป็นตัวของตัวเอง" ... รึไม่จริง ??!! ... ;)