Armageddon Science

The Science of Mass Destruction | 13/5/2013

Book Title: Armageddon Science : The Science of Mass Destruction

Author(s): Brian Clegg
Format: Hardcover ; 304 pages
Publisher: St. Martin's Press ; October 26, 2010
Language: English
ISBN-10: 0312598947
ISBN-13: 9780312598945
Product Dimensions: 8.1 x 5.6 x 1.1 inches

เพิ่งจะติดตั้ง Dropbox และ Ubuntu One ลงไปในเครื่องของตัวเอง หลังจากที่สร้าง shortcut ให้กับ Google Keep ในเมนูประจำเครื่องได้เพียงไม่กี่นาที ซึ่งก่อนหน้านี้ผม ก็เคยติดตั้ง NixNote ซึ่งเป็น client ของ Evernote ไว้บน Linux โดยที่ยังไม่เคยใช้งานอะไรกับมันเลย ... :D ... เสร็จแล้วก็ติดตั้งทั้ง Dropbox, Ubuntu One, Google Keep ลงไปในโทรศัพท์มือถือที่มี EverNote รออยู่ก่อนเมื่อนานมาแล้ว ... ซึ่งก็ไม่เคยใช้งานอะไรกับมันอีกเหมือนกัน ... :D

Cloud System หรือที่บางคนมักจะเรียกเป็นภาษาไทยว่า "ระบบกลุ่มเมฆ" นั้น เป็นระบการให้บริการในอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงค่อนข้างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะมันคือระบบการให้บริการที่มีวัตถุประสงค์หลักๆ อยู่ที่ การทำให้ "ทุกคน" สามารถเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่ตนเองต้องการได้จาก "ทุกที่-ทุกเวลา" ... ถ้า ... "สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต" ณ ขณะเวลานั้นๆ ได้ ... มันคือบริการหนึ่งที่ช่วยให้อุปกรณ์เคลื่อนที่ยุคใหม่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ต่างก็ขายดิยขายดีราวกับเป็นบ้า เพราะมันช่วยให้อุปกรณ์ตัวกระจิ๋วริ๋วเหล่านั้น สามารถก้าวข้าม "ความจำกัดจำเขี่ย" ของพื้นที่หน่วยความจำเพื่อการบันทึกข้อมูลของพวกมันไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ !!?? ...

... แล้วถ้า "ไม่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต" ล่ะ ??!! ...

คำตอบก็คือ ไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่เราจะสามารถเรียกใช้งานมันได้อีกครั้งเมื่อมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตอย่างที่ต้องการ ... เท่านั้นเอง !! ...

... เ ท่ า นั้ น เ อ ง ??!! ... เหรอ ??!!

... แล้วถ้า ... ผู้ให้บริการเหล่านั้นเกิดนึกอยากจะเลิกให้บริการซะล่ะ ??!! ... ทีนี้ ต่อให้มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตอย่างที่ต้องการ เราก็น่าจะทำอะไรกับไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้อยู่ดี ... รึเปล่า ??!!

คำตอบก็น่าจะประมาณว่า ... ถ้ากลัวขนาดนั้นก็ต้องมี "ระบบกลุ่มเมฆ" ของตัวเองแล้วล่ะ !! ... หรือถ้าใช้บริการของคนอื่น มันก็ไม่น่าจะร้ายแรงขนาดนั้นหรอก เพราะไฟล์ที่ขึ้นไปอยู่บน "กลุ่มเมฆ" นั้น ทุกคนก็ต้องมีไฟล์สำรองอยู่ในอุปกรณ์อื่นๆ ของตัวเองอยู่แล้ว การใช้บริการที่มีอยู่ ก็เพื่อ "อำนวยความสะดวก" สำหรับการพกพาอุปกรณ์ และไฟล์ข้อมูลเท่านั้น ...

... มันจึงน่าจะเป็นไปได้มากเลยว่า ... ไฟล์ข้อมูลที่แต่ละคนเอาไปเก็บไว้บน "บริการกลุ่มเมฆ" นั้น ต่อให้หายไปไหน หรือเข้าถึงไม่ได้ ก็ไม่ถึงกับเป็นเรื่องคอขาดบาดตายอะไร ... รึเปล่า ??!! ... หรือ ... ถ้าจะใช้คำให้ได้ความหมายที่ตรงกว่านั้นก็อาจจะประมาณว่า "ไฟล์ขยะ" นั่นเอง !!??

... แล้วความคิดของผมก็ข้ามเรื่อง "ข้อดี", "ข้อเสีย", และ "ข้อเสี่ยง" ของ "ระบบกลุ่มเมฆ" ไป เพราะถึงยังไง ผมก็ยังไม่มีธุระที่จะต้องยุ่งเกี่ยวกับมันโดยตรงอยู่ดีในเวลานี้ ... แต่ผมย้อนนึกไปถึงปรากฏการณ์ "ก้มหน้าก้มตาละเลยสิ่งรอบข้างเพื่อคุยกับคนต่างทวีป" ของผู้คนในสังคมปัจจุบัน นึกถึง "ความสะดวกสบาย" ที่ผู้คนในสังคมยุคใหม่พากัน "เสพติด" อย่างไม่ลืมหูลืมตา ...

... มันจะเป็นยังไงบ้างนะ ถ้าระบบอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนใช้งานอยู่นี้ เกิดล่มสลายลงไปอย่างกระทันหัน ?! ...

ผมไม่ได้สนใจที่ความเป็นไปได้ของมัน แล้วก็ไม่ได้สนใจที่แนวทางในการป้องกันยังไงด้วย ... แต่ผมสนใจแค่ว่า ... ถ้ามันล่มสลายอย่างกระทันหันขึ้นมาจริงๆ ในลักษณะที่อาจจะเรียกว่า Information Meltdown ตามชื่อบทหนึ่งในหนังสือเรื่อง Armageddon Science ของ Brian Clegg นั่นแหละ ...

... มันจะเป็นยังไงบ้างหลังจากนั้น?

... ปฏิกิริยาของผู้คนจะเป็นยังไง?

... การค้าและการพาณิชย์ทุกอย่างยังดำเนินต่อไปได้มั้ย?

... สังคมของมนุษย์ถูกพัฒนามาถึงจุดที่จำเป็นต้องพึ่งพาเจ้า "สื่อสัญญาณไฟฟ้า" ที่ "ปราศจากตัวตน" เหล่านี้ได้ยังไง ??!!

... จริงๆ แล้ว ระบบคอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยเสริม "กระบวนทัศน์" ของผู้คนให้กว้างไกลยิ่งขึ้นกว่าเดิม หรือเพียงแต่ย้าย "สถานกักกันทางความคิด" ของผู้คนให้มืดบอดอยู่ในกรอบที่แตกต่างออกไปเท่านั้น ??!!

... มนุษย์น่าจะยังสามารถ "มีชีวิต" อยู่ต่อไปได้ ต่อให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งหมดล่มสลายลงไปอย่างสิ้นเชิง เพราะเราไม่ได้ "บริโภคข้อมูล" เป็นอาหารหลักตามธรรมชาติ ... แต่มนุษย์จะ "ดำเนินชีวิต" ต่อไปยังไง ??!! ... ในเมื่อ "สื่อสัญญาณไฟฟ้า" ภายใน "ระบบคอมพิวเตอร์" ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ "กระแสชีวิต" ภายในระบบเศรษฐกิจและสังคมไปหมดแล้ว ??!!

... สังคมทั้งสังคมได้ "เสพติดความสะดวกสบาย" จาก "ระบบสารสนเทศ" จนแทบไม่มีใครรู้อีกแล้วว่า เบื้องหลัง "ความสะดวกสบาย" เหล่านั้น มีอะไรบ้างที่พวกเขาจะต้องปฏิบัติ หากปราศจาก "เครื่องมือ" ที่เชื่อมโยง "ข้อมูล" ทั้งหมดนั้นเข้าด้วยกัน ... ?!

... ฯลฯ

... "ความคุ้นเคย" ของการมี "ระบบสารสนเทศพร้อมใช้" อยู่ตลอดเวลาเหมือนทุกวันนี้ อาจจะทำให้พวกเราลืมไปหมดแล้วว่า ชีวิตที่ปราศจาก "การบริโภคข้อมูลอย่างบ้าคลั่ง" นั้นมันควรเป็นยังไง !!? ...

แล้วผมก็ย้อนนึกถึงสิ่งที่เรียกว่า "หนังสืเล่ม" กับ "หนังสืออิเล็คทรอนิค" ...

... อะไรที่น่าจะคงทนถาวรกว่ากัน ?!

... อะไรที่ควรจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน ?!

... หาก "หนังสือเล่ม" ต้องถึงกาลอวสาน แล้วเหลือเพียง "หนังสืออิเล็คทรอนิค" เท่านั้นที่กลายเป็นสื่อบันทึก "องค์ความรู้" ทั้งหมดของมวลมนุษยชาติเอาไว้ ... เราจะต้องเริ่มพัฒนา "องค์ความรู้" ทั้งหมดนั้นใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นรึเปล่า หาก "ระบบสารสนเทศ" ของทั้งโลกเกิดล่มลสายลงไปอย่างกระทันหันจริงๆ ??!!

 

 


Categories: ZhuqiBook

Leave Comment