Zhuq!Ching

ZhuqiChing : The Organization Code
The Long Struggled Episode of ZhuqiDOX
© 2021 by Viruch Hemapanpairo (วิรัช เหมพรรณไพเราะ)

 

||| .. ลำดับอนุกรมของโจวเหวินอ๋อง


นั่งส่อง 'ลำดับอนุกรม' ของ King Wen หรือ 'โจวเหวินอ๋อง' อยู่ซะหลายวัน แต่จนแล้วจนรอดก็แคะไม่ออกว่าลำดับทั้งหลายที่เรียงกันเป็นบทต่างๆ ใน 'คัมภีร์อี้จิง' นั้นถูกกำหนดขึ้นมาจากมาตรฐานไหนกันแน่ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า ลำดับทั้งหมดเหล่านั้นไม่ได้ถูกจัดเรียงตามหลักคณิตศาสตร์ใดๆ อย่างตายตัว แต่ก็มีความชัดเจนมากๆ ด้วยว่า ลำดับทั้งหมดไม่ได้ถูกเรียงไว้ด้วย 'การสุ่ม' อย่างแน่นอน และดูเหมือนกับมีความพยายามที่จะสื่อความหมายบางอย่างเอาไว้ด้วย 'ลำดับอนุกรม' ที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อนเหล่านั้น

แรกสุดเลยก็คือ อนุกรมทั้งหมดถูกเริ่มต้นด้วย ䷀ (乾, qián, เชี๋ยน) กับ ䷁ (坤, kūn, คุน) ซึ่งถือเป็น 'หยางบริสุทธิ์' และ 'หยินบริสุทธิ์' และจบลงด้วย ䷾ (既濟, jì jì, จี้ จี้) กับ ䷿ (未濟, wèi jì, เว่ย จี้) ซึ่งเป็นบทที่ 63 และ 64 โดยมี 'ภาพสัญลักษณ์' ที่มีการสอดประสานกันระหว่าง 'หยิน' และ 'หยาง' อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ... ดังนั้นมันจึงเหมือนกับเป็นการสะท้อนความหมายให้เห็นถึงพัฒนาการจาก 'ความสุดขั้ว' ไปสู่ 'ความสมดุล' ในที่สุดนั่นเอง ... ซึ่งเป็นไปได้อย่างมากว่า King Wen กับ 'จิวกง' น่าจะตั้งใจให้บทที่ 1 และ 2 เป็น 'บทนำ' โดยมีบทที่ 63 และ 64 เป็น 'บทสรุป' ของคัมภีร์ทั้งฉบับ

ปริศนาที่เป็นข้อถกเถียงข้อหนึ่งของ 'คัมภีร์อี้จิง' ก็คือ การที่มันถูกแบ่งออกเป็น 2 ภาคตรงบทที่ 30 แทนที่จะเป็นบทที่ 32 เพราะเนื้อความของคัมภีร์มีอยู่ 64 บท ??!! ... แต่เมื่อเราตัดหัวท้ายออกไป 4 บทซะแล้ว (คือเป็น 'บทนำ' กับ 'บทสรุป') คัมภีร์ส่วนที่เหลือก็จะมีเพียง 60 บทเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้ 'กึ่งหนึ่ง' ของ 'คัมภีร์อี้จิง' อยู่ตรงบทที่ 30 อย่างลงตัวพอดีทันที !!! ... ซึ่งแม้ว่ามันจะทำให้ 'ภาคแรก' กับ 'ภาคหลัง' มีจำนวนบทที่ไม่เท่ากันอย่างที่ถูกตั้งเป็นข้อถกเถียงมาโดยตลอด แต่การกำหนดให้ 'กึ่งหนึ่ง' ของคัมภีร์อยู่ตรงบทที่ 30 นี้ต้องถือว่าเป็นวิธีการที่รวบรัดหมดจดมากๆ ในการสื่อความหมายให้รับรู้ความจริงข้อหนึ่งที่ว่า เนื้อความทั้งหมดของคัมภีร์จะมีเพียง 60 บท ไม่ใช่ 64 บทอย่างที่เข้าใจกัน ;)

ถัดมาก็คือ 'ภาพสัญลักษณ์' ทั้ง 60 บทที่เหลือถูกออกแบบให้สลับหัวสลับหางกันเป็น 'คู่' เสมอ โดยเริ่มต้นจาก 3-4 (䷂ - ䷃), 5-6 (䷄ - ䷅), 7-8 (䷆ - ䷇), ... ไปตลอดทั้งเล่ม ไม่เว้นแม้แต่คู่สุดท้ายคือ 63-64 (䷾ - ䷿) ก็อยู่ในลักษณะของการสลับหัวสลับหางด้วยเหมือนกัน ... แต่จะมี 'ภาพสัญลักษณ์' เพียง 3 คู่เท่านั้นที่อยู่ในลักษณะสมมาตรจนต้องใช้วิธีสลับ 'หยิน-หยาง' แต่ละตำแหน่งแทนการสลับหัวสลับหาง นั่นก็คือ 27-28 (䷚ - ䷛), 29-30 (䷜ - ䷝), และ 61-62 (䷼ - ䷽) ... ซึ่งถ้านับ 1-2 (䷀ -䷁) เข้าไปด้วยก็จะมีรวมกันเป็น 4 คู่ด้วยกัน ... แต่ ... ถ้าเราจะถือว่าบทหัว-ท้ายทั้งสี่ถูกใช้เพื่อสื่อความหมายของพัฒนาการจาก 'ความสุดขั้ว' ไปสู่ 'ความสมดุล' มันก็น่าจะไม่ต้องถูกนับเข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้ ...

ซึ่งในชุด 'คู่สมมาตร' ทั้ง 3 คู่ที่เอ่ยไว้นี้ก็มีจุดที่น่าสนใจอยู่นิดหน่อย เพราะบทที่ 29-30 (䷜ - ䷝) ถือเป็น 'บทสิ้นสุด' ของ 'ภาคแรก' โดยมีบทที่ 63-64 (䷾ - ䷿) เป็น 'บทสิ้นสุด' ของ 'ภาคหลัง' ตาม 'คัมภีร์อี้จิง' ฉบับม้วนไม้ไผ่ และทั้งสองคู่ก็มีองค์ประกอบเป็น ☲ (離, lí, ลี๋ หมายถึง 'ไฟ') กับ ☵ (兑, dùi, ตุ้ย หมายถึง 'น้ำ', 'ทะเลสาบ') ที่เพียงแต่สลับตำแหน่งกันเท่านั้น ... ในขณะที่เราจะเห็นว่าบทที่ 27-28 (䷚ - ䷛) และบทที่ 61-62 (䷼ - ䷽) ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกันมากๆ ได้ถูกวางอยู่ในลำดับที่สอดคล้องกันคือเป็น 'สองบทสุดท้าย' ก่อนที่จะถึงบทสรุปของแต่ละภาคของคัมภีร์ ... มันจึงไม่น่าจะเป็น 'การสุ่ม' อย่างแน่นอนที่สุด !!!!

นอกจากนั้นแล้วก็จะมีอีก 3 คู่ที่แม้ว่าจะเป็นการสลับหัวสลับหาง แต่ก็สามารถมองว่าเป็นการสลับขั้ว 'หยิน-หยาง' แบบเส้นต่อเส้นได้นั่นก็คือ 11-12 (䷊ - ䷋), 17-18 (䷐ - ䷑) และ 53-54 (䷴ - ䷵) ... ตรงนี้ถ้านับ 63-64 (䷾ - ䷿) เข้าไปด้วยก็จะถือว่ามี 4 คู่อีกเหมือนกัน ซึ่งน่าสังเกตว่า 1-2 (䷀ -䷁) ซึ่งเป็น 'บทนำ' จะถูกจัดอยู่ในชุดเดียวกับกลุ่มที่สมมาตรกัน 100% ส่วน 63-64 (䷾ - ䷿) ซึ่งเป็น 'บทสรุป' จะมาอยู่ในชุดที่มีการสลับหัวสลับหาง แต่ก็เสมือนหนึ่งมีการสลับขั้ว 'หยิน-หยาง' แบบเส้นต่อเส้นไปพร้อมๆ กันด้วย ...

เมื่อไล่อ่านคำอธิบายภาพสัญลักษณ์ทั้งหมดของ King Wen กับบทอรรถธิบายประกอบของ 'จิวกง' แล้วก็ปรากฏว่า ความหมายของแต่ละขีดที่บันทึกไว้ในบทต่างๆ ซึ่งมีบทละ 6 ขีดนั้นจะถูกจำแนกออกเป็น 3 คู่คือ 1-6, 2-5 และ 3-4 กับมีการเรียงลำดับของความหมายของแต่ละบทวนเป็นวัฏจักรของ ䷀ (qián, เชี๋ยน) กับ ䷁ (kūn, คุน) สลับกันไปเรื่อยๆ รอบละ 12 บทคือ 3-8 เป็นบทที่ว่าด้วย ䷀ (qián, เชี๋ยน) แล้ว 9-14 เป็นบทที่ว่าด้วย ䷁ (kūn, คุน) จากนั้นก็จะวนกลับโดยใช้ 15-20 เล่าเรื่องของ ䷀ (qián, เชี๋ยน) กับ 21-26 เป็นเรื่องของ ䷁ (kūn, คุน) ... อย่างนี้เรื่อยไปจนครบ 5 รอบหรือ 60 บท (รอบสุดท้ายคือบทที่ 51-56 และ 57-62) แล้วจึงสรุปตบท้ายด้วยบทที่ 63-64 (䷾ - ䷿) ถือเป็นเสร็จสิ้นพิธีการ ... ซึ่งลำดับของ 'ภาพสัญลักษณ์' ที่ปรากฏให้เห็นเป็นบทต่างๆ นั้น ดูเหมือนจะยังไม่มีใครสามารถหาข้อสรุปได้ว่า King Wen เรียงลำดับของมันทั้งหมดด้วยอนุกรมแบบใด แต่ก็เป็นไปได้ว่า King Wen น่าจะคำนึงถึง 'ความหมาย' อะไรบางอย่างที่ต้องการจะสื่อก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเอาสัญลักษณ์อันหนึ่งอันใดมาใช้แทนความหมายนั้นๆ ของตนเอง ... นั่นก็หมายความว่า มันอาจจะไม่ได้เรียงลำดับด้วยอนุกรมทางคณิตศาสตร์ใดๆ เลย !!!??

ทีนี้ ... ถ้าเราทดลองเอาลำดับของบทต่างๆ มาเรียงต่อกันเป็น Sine Curve โดยกำหนดให้พื้นที่เหนือ 'แกนสมมาตร' เป็น 'แดนหยาง' (䷀) และพื้นที่ใต้ 'แกนสมมาตร' เป็น 'แดนหยิน' (䷁) ... ส่วนจุดตัดของ Sine Curve บน 'แกนสมมาตร' ที่ว่านี้ก็คือจุดที่ 'หยิน-หยาง' มีความสมดุลกัน 100% ซึ่งก็คือ ䷾ (ุ63) และ ䷿ (64) ... โดยผมกำหนดให้ 'ขาขึ้น' เป็น ⚍ ที่เมื่อเขียนเป็น 3 ชุดก็จะออกมาเป็นสัญลักษณ์ที่ 63 (䷾) ... ส่วน 'ขาลง' ก็เป็น ⚎ ที่พอเขียนซ้อนกัน 3 ชุดก็จะกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ 64 (䷿) ... ซึ่งจริงๆ แล้วมันมีคำอธิบายในเชิงสัญลักษณ์อยู่หลายอย่าง แต่ถ้าใช้เหตุผลที่ตรงๆ เลยก็คือ 'จุดหมายปลายทางของหยาง (⚌) คือสำนึกในคุณค่าแห่งหยิน () และจุดหมายปลายทางของหยิน (⚏) ก็คือสำนึกในคุณค่าหยาง ()' จึงทำให้ปลายสุดแห่ง 'หยาง' ควรจะเป็น  และปลายสุดแห่ง 'หยิน' ควรจะเป็น  ก่อนที่จะเริ่มวนเป็นวัฏจักรต่อๆ ไปอย่างไม่สิ้นสุด ...
 


ดูจุดที่ถูก mark ตำแหน่งให้ดีๆ ครับ จุดที่ 29-30 จะอยู่กึ่งกลางของ curve อย่างชัดเจนมากๆ ในขณะที่จุดที่ 27-28 กับ 61-62 คือคู่ที่ปิดหัวท้ายให้กับ Sine Curve 3 loops ข้างหลังคล้ายกับเป็น 'เครื่องหมายคำพูด' หรือสิ่งที่กำหนดกรอบของความหมายอะไรบางอย่างเอาไว้ ... ส่วนจุดที่มีการสลับขั้ว 'หยิน-หยาง' ทั้ง 3 คู่คือ 11-12, 17-18, และ 53-54 ต่างก็อยู่ในตำแหน่งที่ถือเป็น 'ยอดคลื่น' ด้วยกันทั้งหมด ... แต่จุดที่เป็น 'ยอดคลื่น' ทั้งหมดของ Sine Curve ชุดนี้จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดถึง 10 จุด แต่ก็ดูเหมือน King Wen จงใจที่จะเลือกให้ความสำคัญเพียงแต่ 3 จุดเท่านั้น (ส่วน 29-30 ถือว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศษในฐานะที่เป็น 'กึ่งกลาง' ของคัมภีร์ด้วย) ... ทำไม ??!!

ที่เห็นในรูปจะมีจุดที่ 51-52 และ 57-58 ถูกทำให้เห็นว่าแตกต่างกับจุดอื่นๆ เล็กน้อย ... ประการแรกก็คือ นี่คือ 4 ใน 8 ของสัญลักษณ์ที่เรียกว่า double trigrams คือมีท่อนบนท่อนล่างเป็น 'สัญลักษณ์ธาตุ' เดียวกัน โดยสัญลักษณ์ทั้ง 8 ประกอบไปด้วย 1 (䷀), 2 (䷁), 29 (䷜), 30 (䷝), 51 (䷲), 52 (䷳), 57 (䷸), และ 58 (䷹) ... ซึ่งใน curve จะไม่แสดงจุดที่ 1-2 เอาไว้ เพราะเราใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อกำหนด 'แดนหยาง' และ 'แดนหยิน' แทนการกำหนดลงไปใน curve ส่วนจุดที่ 29-30 ที่ดูจะได้รับปฏิบัติค่อนข้างพิเศษกว่าจุดอื่นๆ นั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะมันเป็น double trigrams กับเขาด้วยเหมือนกัน นอกเหนือจากความพิเศษอย่างอื่นที่เล่าไปก่อนแล้ว ... ในขณะที่ 51-57 และ 52-58 ต่างก็เป็น 'คู่ตรงข้าม' ของกันและกันที่ถูกวางให้อยู่ใน loop เดียวกันของ Sine Curve ชุดนี้ด้วย (อีกคู่หนึ่งที่มีอาการลักษณะคล้ายๆ กันคือ 7-13 และ 8-14 ที่แม้ว่าจะไม่ใช่ double trigrams แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วย 'สัญลักษณ์ธาตุ' หลักคือ ☰, ☷, ☲, ☵ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำแกนสมมาตร หรือทิศทั้งสี่ในภาพ 'โป้ยก่วย' ของ Fu Xi ด้วย จึงไม่ค่อยน่าแปลกใจที่จะได้รับการวางลงในตำแหน่งที่มีลักษณะพิเศษกว่าคู่อื่นๆ อยู่บ้าง)

เมื่อเห็นความเป็นระบบระเบียบของการจัดวางลำดับบท และการกำหนดภาพสัญลักษณ์ประจำแต่ละบทของ King Wen แล้ว เราแทบจะไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะชี้ชัดได้เลยว่า King Wen ใช้วิธีการ 'เดาสุ่ม' แต่ลำดับทั้งหมดนี้ต้องมาจาก 'ความตั้งใจ' ที่จะสื่ออะไรบางอย่างไว้อย่างแน่นอน !!

จำนวนของส่วนประกอบต่างๆ ที่เห็นใน Sine Curve ก็ดูจะเป็นการสื่อถึงอะไรบางอย่างได้ เช่น

  • 12 จุดต่อ loop ดูคล้ายกับจะหมายถึง 12 ปีนักษัตร ซึ่งปรกติจะใช้เป็น 'การนับรอบอายุ' ของผู้คนทั่วๆ ไป
  • ในขณะที่การนับเวลาของชาวจีนโบราณจะนับเป็น 'ยาม' ซึ่งแบ่งออกเป็น 'ยาม' ละ 2 ชั่วโมง เวลาในหนึ่งวันจึงมี '12 ชั่วยาม' ตามวิธีการนับแบบนี้
  • 5 loops หรือ 5 รอบตามที่เห็นจะมีค่าเท่ากับ 60 ซึ่งก็คือจำนวนบททั้งหมดของ 'อี้จิง' แต่ก็เป็นตัวเลขเดียวกับที่ชาวเอเชียมักจะถือว่าเป็น 'การครบรอบวันเกิดใหญ่' ในขณะที่ในระดับสากลก็เกือบจะถือว่านี่คือ 'วัยเกษียณ' หรือ 'วัยที่สิ้นสุดของการตรากตรำทำงาน'
  • ในขณะเดียวกัน เลข 5 ที่แสดงเป็นจำนวนรอบหรือจำนวน loop ก็เป็นจำนวนตัวเลขที่สอดคล้องกับ 'ธาตุทั้งห้า' ตามหลักปรัชญาของจีนคือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ไม้, ทอง (หรือโลหะ) ซึ่งเป็นไปได้มั้ยล่ะว่า loop ต่างๆ เหล่านั้นกำลังบอกเล่าถึงวัฏจักรที่หนุนเนื่องและหักล้างกันของ 'ธาตุทั้งห้า' อันเป็นธาตุหลักของทุกสรรพสิ่ง รวมทั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติด้วย ??!!
  • จุดสำคัญที่ได้รับการ mark ตำแหน่งไว้เป็นพิเศษบน curve อาจจะหมายถึง 'จุดหัวเลี้ยวหัวต่อ' ของแต่ละช่วงอายุที่ต้องได้รับความเอาใจใส่เป็นพิเศษ หรือจะต้องมีการทบทวนตนเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของชีวิตต่อไปอย่างราบรื่น มันจึงถูกสะท้อนด้วยการใช้สัญลักษณ์ที่ไม่มี 'คู่ตรงข้าม' ที่นอกเหนือจากคู่ของมันเอง โดยจุด critical points เหล่านี้เหมือนกับถูกกำหนดให้อยู่ใน 3-4 ช่วงอายุคือ 11-12 ซึ่งเป็นวัยเด็ก, 17-18 เป็นวัยรุ่น, 29-30 เป็นวัยทำงานและการสร้างครอบครัว, 53-54 คือบั้นปลายก่อนวัยเกษียณ ซึ่งจะต้องกำหนดตัวบุคคลที่จะรับสืบทอดเจตนารมณ์ไปยังรุ่นต่อๆไป ... ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ดูจะสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไปอย่างมาก
  • ฯลฯ

ทีนี้ ... เมื่อเราเห็นแล้วว่าสัญลักษณ์ทั้ง 64 ต่างก็จะมี 'คู่ตรงข้าม' แบบสลับขั้ว 'หยิน-หยาง' ของมันเองเสมอ เช่น 1-2 (䷀ - ䷁), 3-50 (䷂ - ䷱), 4-49 (䷃ - ䷰), ... 63-64 (䷾ - ䷿) ... และความสมบูรณ์ของสรรพสิ่งย่อมเกิดจากการประสาน 'ความตรงข้าม' เหล่านี้เข้าด้วยกัน (เช่นเดียวกับการประสานกันของ 'หยิน' และ 'หยาง' ... ดังนั้น ความสมบูรณ์ของ loop ต่างๆ ที่เห็นใน Sine Curve ชุดนี้ก็อาจจะหมายถึงต้องมีการผสม 'คู่ตรงข้าม' ของแต่ละจุดลงไปด้วย ... แต่ก็ปรากฏว่า การนำคู่ตรงข้ามของแต่ละ loop มาไล่ plot ลงไปบน Sine Curve กลับไม่ได้ช่วยให้เห็นอะไรที่น่าสนใจซักเท่าไหร่ ???!!! ... ดังนั้นผมจึงทดลองนำจุดต่างๆ เหล่านี้กลับไป plot ลงใน 'ตารางเทียบลำดับสัญลักษณ์' ของ King Wen แทน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็ออกมาเป็นอย่างนี้ครับ ...
 

 

ที่เห็นระบายด้วย 'สีเหลือง' คือชุดสัญลักษณ์ที่เมื่อสลับหัวสลับหางแล้ว จะกลายเป็น 'คู่ตรงข้าม' แบบสลับขั้ว 'หยิน-หยาง' ไปด้วยพร้อมๆ กัน ส่วนที่เห็นระบายด้วย 'สีเขียว' คือชุดสัญลักษณ์ที่สมมาตรในตัวเอง ซึ่งจะไม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปร่างใดๆ หากทำการสลับหัวสลับหาง และจะมี 'คู่ตรงข้าม' แบบสลับขั้ว 'หยิน-หยาง' ได้เท่านั้น ... สัญลักษณ์สำคัญทั้ง 16 สัญลักษณ์จะมีการเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ โดยจะเห็นแนว 'แกนสมมาตร' ที่ทะแยงลงมาตลอดทั้งตารางเลยทีเดียว โดย 'คู่ตรงข้าม' ทั้งหมดจะถูกเรียงตัวอยู่ใน quardrant ของ 'หยินบริสุทธิ์' กับ 'หยางบริสุทธิ์' เท่านั้น ในขณะที่ 'แกนสมมาตร' จะพาดผ่าน quardrant ที่มี 'หยิน-หยาง' ผสมกันเสมอ !!!

หากจะบอกว่านี่คือ 'ความบังเอิญ' เราลองมาดูตารางที่เรียงตัวด้วย 'สัญลักษณ์ธาตุ' ตามอนุกรมของ Fu Xi ดูบ้าง ...
 

 

แม้ว่าจะเห็นเป็น pattern ที่มีระบบระเบียบไม่น้อยกว่ากัน แต่ 'แกนสมมาตร' ในลำดับอนุกรมแบบ Fu Xi ดูจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่า เพราะภาพที่ได้จะกลายเป็น Double Reverses ที่สลับ 'บน-ล่าง' และ 'ซ้าย-ขวา' ในลักษณะที่เป็น mirror ของกันและกันตลอดเวลา ... แต่ก็อาจจะเพราะลักษณะการเรียงตัวอย่างนี้รึเปล่าที่ทำให้ King Wen เลือกที่จะใช้ลำดับอนุกรมแบบ 'สลับหัว-สลับหาง' ตลอดเล่มของ 'คัมภีร์อี้จิง' อย่างที่เล่าไปแล้ว ??!!

ลักษณะที่เกิด 'แกนสมมาตร' อย่างที่เห็นนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยหากมีการลำดับ 'สัญลักษณ์ธาตุ' ตามใจชอบ ซึ่งแม้แต่ระบบการเขียนตารางอ้างอิงแบบของ Richard Wilhelm อันถือเป็นแบบฉบับของ 'คัมภีร์อี้จิง' ภาษาตะวันตกสำนวนแรกๆ และถือเป็นฉบับมาตรฐานที่มีการเผยแพร่โดยทั่วไปนั้น กลับไม่สามารถไขปริศนาของ 'แกนสมมาตร' และ 'สัญลักษณ์สำคัญ' ทั้ง 6 กับคำอธิบายถึงความสำคัญของบทที่ 29-30 และ 63-64 ในฐานะของ 'จุดกึ่งกลาง' และ 'จุดสิ้นสุด' ของคัมภีร์อย่างที่เห็นนี้ได้เลย ...
 


pattern ที่เกิดขึ้นในตารางของ Richard Wilhelm แม้ว่าจะมีระเบียบพอสมควร แต่ก็ปราศจาก 'แกนสมมาตร' ที่ชัดเจน โดยจะเห็นเป็นเพียง 'ภาพเหมือน' ที่ล้อไขว้กันไปมาระหว่าง quardrant ที่เป็นมุมทะแยงกันเท่านั้น ซึ่งยากที่จะหาความสัมพันธ์ใดๆ ในเชิงคณิตศาสตร์ หรือภาพสัญลักษณ์อื่นใดเมื่อเราเริ่ม plot จุดต่างๆ ของแต่ละ loop ลงไปในตารางแบบนี้ ...
 


จะเห็นว่า pattern ที่เกิดจากตารางอนุกรมแบบของ Richard Wilhelm จะมีการสลับ 'ซ้าย-ขวา' กับ 'บน-ล่าง' อย่างตรงๆ ตัว แต่ไม่มีลักษณะของการ 'สลับหัว-สลับหาง' หรือการ 'พลิกซ้าย-พลิกขวา' ในลักษณะของ mirror แบบที่มี 'แกนสมมาตร' ที่แท้จริง ... ในขณะที่บทที่ 29-30 และ 63-64 กลับถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่ off-center และทำให้ความโดดเด่นของสัญลักษณ์ชุดนี้ดูจะเบาบางลงไป

แต่ถ้าเป็นตารางถูกเรียงด้วยลำดับอนุกรมแบบของ Fu Xi เราจะได้ pattern อีกแบบหนึ่งที่ต่างออกไป ...
 


จะเห็นว่าแบบฉบับของ Fu Xi นั้นจะได้ pattern ที่มี 'แกนสมสมาตร' ได้ 2 แกนคือ 'แกนตั้ง' หรือ 'แกนนอน' ตาม 'ทิศหลัก' ในภาพ 'โป้ยก่วย' ของ Fu Xi เอง โดยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เรียงตัวกันเป็น pattern นั้น จะมีลักษณะที่เป็น mirror ที่จะต้อง 'พลิกซ้าย-พลิกขวา' หรือ 'สลับหัว-สลับหาง' ในทุกๆ pattern ที่เกิดขึ้นจากแต่ละ loop เสมอ

ซึ่งการปรับเปลี่ยนลำดับอนุกรมของ Fu Xi มาเป็นแบบมาตรฐานของ King Wen กลับทำให้เกิด pattern ที่รวบรัดหมดจดมากกว่า ...
 


pattern ทั้งหมดจะอิงอยู่กับแนว 'แกนสมมาตร' เพียงแกนเดียว ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมดในแนว 'แกนสมมาตร' ก็คือสัญลักษณ์ที่เมื่อ 'สลับหัว-สลับหาง' แล้วจะเกิดเป็น 'คู่ตรงข้าม' ในคู่ของมันอย่างเฉพาะเจาะจงเสมอ และหากสังเกตดู pattern ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากแต่ละ loop ในตารางของ King Wen เราอาจจะรู้สึกได้ว่า King Wen กำลังพยายามสร้าง 'ภาพอักษร' บางอย่างขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์ประจำของแต่ละ loop อย่างชัดเจนมาก ... ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า 'ภาพอักษร' เหล่านี้อาจจะหมายถึง 'ธาตุทั้งห้า' ตามคติความเชื่อของชาวจีนโบราณคือ ... ไม้ -> ดิน -> น้ำ -> ไฟ -> ทอง/โลหะ ซึ่งหากอนุกรมของ 'ธาตุทั้งห้า' เรียงตามลำดับที่ว่านี้ นี่คืออนุกรมของความสัมพันธ์แบบ 'ข่มซึ่งกันและกัน' ซึ่งจะสะท้อนความคิดที่ว่า 'ความสมดุลย่อมเกิดจากการประสานสิ่งตรงข้ามทั้งมวลให้คานอำนาจระหว่างกันอย่างสมบูรณ์ เพื่อนำจุดเด่นขององค์ประกอบหนึ่งข่มจุดด้อยของอีกองค์ประกอบหนึ่งเอาไว้' อันเป็นแนวคิดสำคัญที่สามารถพบเห็นได้ตลอดเล่มของ 'คัมภีร์อี้จิง' เลยทีเดียว !!! ... แต่อะไรล่ะที่เป็น factors สำคัญที่ทำให้ลำดับของสัญลักษณ์ต่างๆ ใน 'คัมภีร์อี้จิง' ต้องเรียงตัวกันอย่างที่เป็นอยู่ ??!!

แต่จากรูปร่างของความมีระบบระเบียบที่เห็นนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ลำดับอนุกรมของ King Wen จะเกิดขึ้นจาก 'การเดาสุ่ม' แต่มันต้องเกิดจาก 'ความตั้งใจ' ที่จะสื่อความหมายอะไรบางอย่างออกมาจากวิธีการเรียงตัวของสัญลักษณ์ต่างๆ อย่างแน่นอน ซึ่งก็เพราะความมีระบบระเบียบดังที่เห็นนี้เอง จึงทำให้หลายๆ คนเชื่อว่า King Wen คงจะต้องคิดคำนวณด้วยหลักคณิตศาสตร์บางอย่างเพื่อที่จะจัดระเบียบของอนุกรมเหล่านี้ ... แต่ความลับกว่า 4,000 ปีที่ King Wen ซุกซ่อนเอาไว้ก็ยังคงไม่มีคำอธิบายใดๆ ที่สามารถอธิบายได้อย่างสมมบูรณ์จวบจนกระทั่งปัจจุบัน ... และเป็นไปได้ว่า การเรียงตัวของสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้ง 60 สัญลักษณ์นั้น อาจจะเกิดจาก function ทางคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกันถึง 5 functions และทำให้เกิด patterns ที่ไม่เหมือนกันเลยถึง 5 แบบ แต่อาศัยแนว 'แกนสมมาตร' แกนเดียวกัน โดย functions ที่ว่านี้จะต้องสามารถสะท้อนปรัชญาของ Fu Xi ได้หากนำไป plot ลงในตารางอนุกรมของ Fu Xi และจะต้องทำให้เกิด 'ภาพอักษร' หรือ 'สัญลักษณ์' บางอย่างหากนำมา plot ลงไปในตารางอนุกรมของ King Wen เอง ???!!! หรือ ... อาจจะไม่ได้มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ใดๆ เลย ??!!... ;)

ผมเองก็บอกไม่ถูกหรอกครับว่า ทั้งหมดที่เล่าไว้นี้จะอยู่ในทิศทางที่จะนำไปสู่การไขปริศนาของ King Wen ได้หรือไม่ แต่ก็ค่อนข้างที่จะเชื่อว่า ความลับอายุกว่า 4,000 ปีของ King Wen ที่ยังไม่สามารถถูกเปิดเผยออกมานั้น ส่วนหนึ่งก็อาจจะมาจาก 'การตีความ' ที่ผิดทิศผิดทางของนักวิชาการทั้งหลายด้วยรึเปล่า ?! ... อย่างเช่นการเรียงลำดับอนุกรมของ 'สัญลักษณ์ธาตุทั้งแปด' ในตารางอ้างอิงที่สามารถส่งผลให้เห็น pattern ที่แตกต่างกันไปคนละทิศละทางดังที่แสดงไว้ ย่อมก่อให้เกิดการหลงทิศหลงทางของการกำหนด function บางอย่างทางคณิตศาสตร์ที่ผิดเพี้ยนไปจาก 'ต้นฉบับ' เดิมของ King Wen และทำให้ทุกคำอธิบายมักจะต้องประสบกับปัญหาในการอธิบายความหมายให้ครบทุกแง่ทุกมุมของคัมภีร์มาโดยตลอด

หลังจากที่นั่งส่อง 'คัมภีร์อี้จิง' ด้วยแง่มุมต่างๆ อยู่หลายวัน ผมก็ต้องยอมสรุปมันดื้อๆ อย่างนี้ล่ะครับว่า 'หากมันจะมีทฤษฎีทางคณิตศาสตร์บางอย่างซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังของลำดับอนุกรมเหล่านี้ มันก็คงจะเป็นความรู้ส่วนที่ผม 'ยัง' เข้าไม่ถึง และอาจจะเกี่ยวพันกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์บางอย่างที่ผม 'ยัง' ไม่เข้าใจ' ซึ่งก็ไม่แน่ว่าผมอาจจะพบเห็นแง่มุมบางอย่างที่น่าสนใจกว่านี้หลังจากที่แคะความหมายของ 'คัมภีร์อี้จิง' ต่อจากที่แคะค้างเอาไว้ครึ่งๆ กลางๆ ... ;) ... เพราะฉะนั้น สมควรแก่เวลาที่จะกลับไปแคะต่ออีกซัก 2-3 รอบแล้วล่ะ !! ... ;)