Zhuq!Ching

ZhuqiChing : The Organization Code
The Long Struggled Episode of ZhuqiDOX
© 2021 by Viruch Hemapanpairo (วิรัช เหมพรรณไพเราะ)

 

The Original Text :


第二十八卦 : 大過

大過 : 澤風大過 ‧ 兌上巽下

大過 : 棟橈‧利有攸往‧亨‧

  • 初六 ‧ 藉用白茅‧無咎‧
  • 九二 ‧ 枯楊生稊‧老夫得其女妻‧無不利‧
  • 九三 ‧ 棟橈‧凶‧
  • 九四 ‧ 棟隆‧吉‧有它吝‧
  • 九五 ‧ 枯楊生華‧老婦得其士夫‧無咎無譽‧
  • 上六 ‧ 過涉滅頂‧凶‧無咎‧

 

ความหมายในเชิง Biorhythms : อารมณ์ ผ่อนพัก (⚎) ; ปัญญา แจ่มใส (⚌) ; พลานามัย สดชื่น (⚍)

ความหมายในเชิงบริหาร : เริงร่าบนฐานะทางการเงินที่มั่นคง ; อาศัย 'การคลัง' (☴) ผลักดัน 'การขาย'

ความหมายของสัญลักษณ์ : ความมีวุฒิภาวะ, ลมโชยใต้ทะเลสาบ



ความหมายของชื่อเรียก : Maturity : ความมีวุฒิภาวะ


มีเหตุผลบางประการที่ผมตัดสินใจตั้งชื่อให้กับบทนี้ว่า 'ความมีวุฒิภาวะ' หรือ Maturity ... ประการแรกเลยก็คือ มันควรจะมี 'ความต่อเนื่อง' มาจากบทที่ยี่สิบเจ็ดที่ว่าด้วย 'การหล่อเลี้ยง' (Nourishing) ... ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ โดยลำดับของบทต่างๆ เท่าที่ผ่านมา ความหมายของบทนี้น่าจะต้องเทียบเคียงได้กับวรรคที่สองของบทที่หนึ่งซึ่ง 'จิวกง' บันทึกไว้ว่า 見龍再田‧利見大人 (jiàn lóng zài tián . lì jiàn dà rén, เจี้ยน ล๋ง ไจ้ เที๋ยน . ลี่ เจี้ยน ต้า เญิ๋น) อันหมายถึง 'ยอดคนย่อมเกิดจากความมุ่งมั่นบากบั่น ความอุตสาหะพยายามย่อมเสริมสร้างให้บรรลุความเป็นยอดคน' ... แต่ก็ดูเหมือน ถ้อยคำของ King Wen ที่บันทึกไว้ว่า 自求口實 (zì qiú kǒu shí, จื้อ ชิ๋ว โข่ว ซื๋อ) ในบทที่ยี่สิบเจ็ดนั้น ได้กินความหมายของ 見龍再田 (jiàn lóng zài tián) ไปเรียบร้อยแล้ว บทนี้จึงน่าจะหมายถึง 'ความอุตสาหะพยายามเพื่อบรรลุถึงความเป็นยอดคน' (利見大人) เพียงท่อนเดียว ... และนั่นก็คือที่มาของคำว่า 大 (dà, ต้า) ใน 'ชื่อบท' ที่กำลังจะเล่านี้

คำว่า 過 (guò, กั้ว) ที่เป็นอีกพยางค์หนึ่งของ 'ชื่อบท' นั้นมักจะมีการใช้งานด้วยความหมายหลายอย่าง 'ภาพอักษรเดิม' ของ 過 (guò, กั้ว) จะมีขีด 3 ขีดอยู่ตรงมุมบนด้านซ้ายมือ เชื่อกันว่าเป็นภาพจำลองของ 'รอยเท้า' ด้านล่างของซีกซ้ายคืออักษร 止 (zhǐ, จื่อ) ที่หมายถึง 'เท้า' เมื่อรวมเข้าด้วยกันจึงกลายเป็นอักษร 辵 (chuò, ฌั่ว) แปลว่า 'เดิน' ... ส่วนซีกขวาคืออักษร 咼 (guā, กัว) มีความหมายคล้ายๆ กับ 'พูดจาเชือดเฉือน' หรือ 'เชือดเฉือนด้วยปาก' ; บางครั้งก็หมายถึง 'การพูดบิดเบือน', 'การซุบซิบนินทา' ได้ด้วย ... เมื่อดูจากความหมายของธาตุประกอบต่างๆ แล้ว 過 (guò, กั้ว) น่าจะหมายถึง 'การหลีกห่างจากเรื่องไม่เป็นสาระ' หรือ 'ลมปากที่ผ่านไปผ่านมา' จึงทำให้มันมีความหมายว่า 'ผ่านเลย', 'ผ่านไป', 'ข้ามไป' ; และอาจจะหมายถึง 'เกินเลยออกไป', 'พ้นขอบเขตออกไป' ; สามารถแปลว่า 'ส่งผ่าน', 'ส่งมอบ' ในลักษณะที่เป็น 'การผ่านมือ' จากผู้หนึ่งไปสู่ผู้อื่น ; และกลายมาเป็น 'การผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง', หรือ 'ผ่านมาแล้ว', 'ผ่านไปแล้ว' ก็ได้

หลายตำราแปล 'ชื่อบท' นี้ว่า Exceeding of The Great ซึ่งแฝงความหมายว่า 'ความล้นหลามของความยิ่งใหญ่' หรือ 'ความใหญ่เกินตัว' ??!! ... แต่ผมกลับไม่คิดอย่างนั้น เพราะแม้ว่า 'ภาพสัญลักษณ์' จะมีจำนวนขีดของ 'พลังหยาง' ที่เป่งบวมถึง 4 ขีด แต่มันก็ถูกห่อหุ้มไว้ด้วย 'พลังหยิน' ทั้งด้านบน และด้านล่างอย่างชัดเจน มันจึงมีลักษณะของ 'ความพินอบพิเทา' ทั้งในระดับของ 'จิตใต้สำนึก' และ 'การแสดงออก' อันเป็นคุณลักษณะของ 'ผู้ที่เติบโตแล้วทางจิตวิญญาณอย่างสมบูรณ์' จึงประกอบด้วย 'ความไม่ถือดี' และ 'ความไม่โอ้อวด' ทั้งๆ ที่มี 'ศักยภาพ' เต็มเปี่ยมอยู่ในตัวเอง ... อันเป็นความหมายของ Maturity ตามแบบฉบับของ 'ยอดคน' (大人) อย่างแท้จริง ... ดังนั้น คำว่า 大過 (dà guò) ในฐานะของ 'ชื่อบท' นี้จึงน่าจะหมายถึง 'การบรรลุถึงความเป็นยอดคน' หรือที่ผมเลือกใช้คำสั้นๆ เพียงแค่ว่า 'ความมีวุฒิภาวะ' เท่านั้น ... !!??!! ... ;)



ความหมายของคำบรรยายภาพสัญลักษณ์ :



棟橈利有攸往亨
dòng ráo lì yǒu yōu wǎng hēng
ต้ง เญ๋า ลี่ โหฺย่ว โยว หวั่ง เฮิง


棟 อ่านว่า dòng (ต้ง) ในแง่ของโครงสร้างสถาปัตยกรรมจะหมายถึง 'คานเอกของหลังคา' ซึ่งหมายถึง 'คานตัวบนสุดตรงบริเวณสันหลังคา' หรือที่ภาษาช่างจะเรียกว่า 'อกไก่หลังคา' นั่นเอง โดยปรกติก็คือโครงสร้างหลังคาส่วนที่มีการรับหน้ำหนักมากที่สุด ... ดังนั้น ความหมายอื่นๆ ของ 棟 (dòng, ต้ง) จึงหมายถึง 'ผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง' ซึ่งอาจจะหมายถึง 'ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่สูงที่สุด' อันหมายถึง 'พระราชา' ได้ด้วย และอาจจะหมายถึง 'ผู้ที่มีความสำคัญระดับสูง' หรือ very important person (VIP) หรือ 'ผู้ที่เป็นเสาหลักของบ้านเมือง' ก็ได้ ... ดังนั้น คำนี้จึงไม่จำเป็นต้องหมายถึงส่วนของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมเสมอไป

橈 อ่านว่า ráo (เญ๋า) แปลว่า 'บิดงอ', 'คดโค้ง', 'อ่อนหยุ่น', 'นุ่มนวล' ; ถ้าใช้กับงานไม้จะหมายถึง 'ดัดให้โค้ง' ; แต่ถ้าใช้กับเรื่องราวต่างๆ ก็สามารถแปลว่า 'บิดเบือน', 'ทำให้ผิดพลาด', 'ก่อกวน' หรือ 'ทำให้สับสนวุ่นวาย' ; ในแง่ของ 'ความอ่อนหยุ่น' ก็สามารถแผลงให้เป็น 'ทำให้อ่อนกำลัง', 'ทำให้อ่อนแอ' ได้ด้วยเหมือนกัน ; หากมองในแง่ของการรับน้ำหนัก 橈 (ráo, เญ๋า) น่าจะหมายถึง 'การตกท้องช้าง' หรือเกิด 'การยวบตัว' เพราะการแบกรับน้ำหนักที่มากเกินกำลัง

บทนี้ดูเหมือนจะเป็นเขาวงกตของ 'การอุปมาอุปไมย' ไปซะงั้น ?! โดยเฉพาะคำว่า 棟橈 (dòng ráo, ต้ง เญ๋า) ที่ทั้ง King Wen และ 'จิวกง' ต่างก็หยิบยกมาใช้ด้วยกันทั้งคู่ แต่ดันตลกร้ายด้วยการเปรียบเปรยไปคนละทิศคนละทางระหว่าง 亨 (hēng, เฮิง) กับ 凶 (xiōng, เซฺวิง) ซะได้ !!!??? ... เพราะฉะนั้น มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่ 棟 (dòng, ต้ง) และ 橈 (ráo, เญ๋า) จะถูกใช้ในความหมายใดความหมายเดียวโดดๆ อย่างตายตัว ... งั้น ... มันควรจะหมายถึงอะไรได้บ้างล่ะ ??!!

ประการแรกเลยก็คือ ผมมองว่า 棟 (dòng, ต้ง) น่าจะหมายถึง 'ผู้นำสูงสุด' เช่นเดียวกับ 龍 (lóng, ล๋ง) ; 君 (jǖn, จฺวิน) ; 師 (shī, ซือ) ; หรือ 大人 (dà rén, ต้า เญิ๋น) ที่ผมตั้งข้อสังเกตไว้ว่า น่าจะเป็นที่มาของ 'ชื่อบท'  大過 (dà guò) ดังที่เล่าไปแล้ว แทนที่จะหมายถึง 'คานเอก' จริงๆ อย่างที่หลายตำรามักจะ 'ตีความ' กัน ... แต่การเลือกใช้คำว่า 棟 (dòng, ต้ง) อันสื่อถึง 'โครงสร้างส่วนบนสุดของอาคาร' มาแทนความหมายดังกล่าวทั้งหมดนั้น น่าจะเกิดจาก 'ความตั้งใจ' ที่ต้องการจะสื่อว่า 'คานเอกที่สามารถดำรงอยู่ตรงยอดสุดของอาคาร ย่อมเพราะมีโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ รองรับอยู่ด้านล่างฉันใด ... ผู้นำที่โดดเด่นเหนือผู้คน ย่อมเพราะมีผู้สนับสนุนที่เข็มแข็งคอยให้ความค้ำจุนฉันนั้น' ... นี่คือความหมายของ 'ผู้นำ' ที่ยังไม่สามารถพบเห็นได้ในคำอื่นๆ เท่าที่ผ่านมาทั้งหมดของ 'คัมภีร์อี้จิง' ... !!!

ส่วนคำว่า 橈 (ráo, เญ๋า) นั้นก็แฝงความหมายของ 'ความอ่อนน้อม' และ 'ความอ่อนแอ' ไว้ในคำเดียวกัน ซึ่งบ่อยครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะได้อย่างชัดเจนว่า พฤติกรรมหนึ่งๆ นั้นเป็น 'ความเหลวไหลไร้หลักการ' หรือว่าเป็น 'ความยืดหยุ่นตามสถานการณ์' ของ 'ผู้นำ' ... มันจึงสามารถสะท้อนถึง 'ความก้าหน้า' (亨) หรือ 'ความเสื่อมสลาย' (凶) ได้ในเวลาเดียวกัน ...

ผมจึงอยากจะ 'ถอดความ' ให้กับ 'ความมีวุฒิภาวะ' (大過) ของบทนี้ว่า หมายถึง 'ภาวะผู้นำที่มีความหนักแน่นเข้มแข็ง (棟) แต่แฝงไว้ภายใต้การแสดงออกที่อ่อนหยุ่นนุ่มนวล (橈) ย่อมเป็นคุณลักษณะสำคัญในการฟันฝ่า (利) ไปสู่ผลลัพธ์ในบั้นปลาย (有攸往) อันเป็นความพัฒนาก้าวหน้า (亨) ยิ่งๆ ขึ้นไป' ... หรือเราอาจจะมองในมุมที่ว่า 'ผู้นำ (棟) ที่พร้อมจะน้อมรับภาระอันหนักหน่วง (橈) ด้วยความวิริยะอุตสาหะ (利) ย่อมมีผลสนอง (有攸往) เป็นความพัฒนาก้าวหน้า (亨) เสมอ' ... คิดว่าจะไม่ 'ตีความ' ให้ไปเกี่ยวกับ 'คานแอ่น', 'คานงอ' อะไรทั้งนั้นนะครับ ;)



บทบันทึกขยายความของ 'จิวกง' :



หนึ่ง หยิน :

藉用白茅無咎
jiè yòng bái máo wú jiù
เจี้ย โยฺว่ง ไป๋ เม๋า อู๋ จิ้ว


藉 อ่านว่า jiè (เจี้ย) แปลว่า 'หนุน', 'รองรับ', 'ปกป้อง', หรือ 'ห่อหุ้ม' ; อาจจะหมายถึง 'ให้ความอบอุ่น', 'ให้ความสบาย' หรือ 'ให้การสนับสนุน' ก็ได้ ; แต่ถ้าในแง่ที่ตรงกันข้ามกับ 'การรองรับ' แล้ว 藉 (jiè, เจี้ย) ก็สามารถที่จะแปลว่า 'กดลงไป', 'กระแทกลงไป' ได้ด้วยเหมือนกัน

白 (bái, ไป๋) ปรกติก็จะแปลว่า 'สีขาว', 'สะอาด', หรือ 'สุกใส', 'สว่างไสว' ; แต่มันก็สะท้อนความหมายว่า 'บริสุทธิ์', 'ไร้ตำหนิ', 'โดดเด่น', 'ชัดเจน' ; หรือ 'ซื่อสัตย์' ก็ได้ ; บางครั้งยังแปลว่า 'เรียบๆ', 'ธรรมดา', 'ไม่มีลวดลาย', 'ไม่มีการต่อเติมเสริมแต่ง' ; และอาจจะหมายถึง 'ทำให้เป็นสีขาว', 'ทำให้ซีด', หรือ 'ชำระล้าง'

茅 (máo, เม๋า) ปรกติจะหมายถึง 'หญ้า' หรือ 'วัชพืช' ; บางทีก็ยังแปลว่า 'สิ่งที่อ่อนนุ่ม' หรือ 'สิ่งที่ไม่มีความสำคัญ' ได้ด้วย ; แต่ในสมัยหนึ่งมันยังหมายถึง 'ดินแดน' หรือ 'ที่ดิน' (封) ที่พระราชามอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของขุนนาง หรือขุนศึกต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของพวกเขาเหล่านั้น จึงทำให้มันสามารถสื่อถึง 'ข้าราชการ', หรือ 'ตำแหน่งทางราชการ' ได้ โดยการเปรียบเทียบกับขนาดของ 'ที่ดิน' หรือ 'ดินแดน' (封) ที่ได้รับมอบกรรมสิทธิ์ครอบครองไว้ (เรียกว่า 茅土)

ลีลาที่ 'จิวกง' เลือกมาใช้กับวลีแรกนี้ก็น่าสนใจไม่น้อยเหมือนกัน เพราะเมื่อ King Wen ใช้คำว่า 棟 (dòng, ต้ง) เพื่อสะท้อนความหมายของ 'สิ่งที่ได้รับการเทินให้สูงเด่นอยู่ด้านบน' ... 'จิวกง' ก็รับช่วงต่อด้วยการใช้คำว่า 藉 (jiè, เจี้ย) เพื่อสะท้อนความหมายของ 'สิ่งที่รองรับอยู่ด้านล่าง' ทันที ... เป็นการเปรียบเทียบกลับไปกลับมาที่น่าสนุกอยู่เหมือนกันครับ ... :D ... ประเด็นที่พอจะสะดุดความรู้สึกได้บ้างอีกประเด็นหนึ่งก็คือ ความเกี่ยวข้องของ 棟 (dòng, ต้ง) ในความหมายของ 'พระราชา' หรือ 'ผู้นำ' กับ 'การสนับสนุน' (藉) ของ 茅 (máo, เม๋า) ในความหมายของ 'ข้าราชบริพาร' หรือ 'ผู้ค้ำจุน' ที่ 'จิวกง' บรรจงสรรหามาบันทึกเอาไว้ ... ซึ่งต่อให้เราไม่รู้ที่มาที่ไปของความเกี่ยวข้องระหว่าง 茅 (máo, เม๋า) กับ 'ตำแหน่งทางราชการ' สิ่งที่มันสื่อออกมาก็ยังหมายถึง 'ชนชั้นรากหญ้า' หรือ 'ความอ่อนนุ่ม' ที่มีความตรงกันข้ามกับ 棟 (dòng, ต้ง) อยู่ดี ... ถูกมั้ยล่ะ ?!

ถ้าว่ากันตามตัวอักษรจริงๆ ความหมายของวรรคนี้ก็คือ 'การปกป้องรองรับ (藉) ย่อมต้องอาศัย (用) เพียงความหยุ่นนุ่มของหญ้าแพรกที่แสนจะธรรมดาสามัญ (白茅) จึงจะไม่ก่อริ้วรอยแห่งความผิดพลาด (無咎) ใดๆ' ... หรืออีกนัยหนึ่ง 'จิวกง' ก็กำลังจะบอกว่า '(ผู้นำที่จะได้รับ) การปกป้อง และการสนับสนุน (藉) ย่อมต้องอาศัย (用) ความบริสุทธิ์ใจ (白) ของผู้ที่คอยค้ำจุนในแต่ละลำดับชั้น จนถึงระดับรากหญ้า (茅) จึงจะไม่ก่อปัญหาที่คับข้องเคลือบแคลง (無咎) ใดๆ' นั่นเอง ...

'ความมีวุฒิภาวะ' ของ 'ผู้นำ' ในทัศนะของ 'จิวกง' จึงอยู่ที่ 'ความเข้าใจอย่างถ่องแท้' เกี่ยวกับปัญหาที่อาจจะเกิดจาก 'การกระทบกระทั่งกัน' ระหว่าง 'ชนชั้นปกครอง' และ 'ชนชั้นผู้ถูกปกครอง' อันจะนำไปสู่ 'ความแตกแยก' หรือถึงขั้นที่ต้อง 'ล่มสลาย' ลงไป ... 'การปกครอง' จึงไม่สามารถใช้เพียง 'พระเดชที่แข็งกร้าว' ตามอำเภอใจ แต่จำเป็นต้องอาศัย 'ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน' (藉) อย่าง 'บริสุทธิ์ใจ' (白) ของ 'ชนทุกชั้น' (茅) จึงจะไม่ก่อปัญหา (無咎) ที่เป็นอุปสรรคต่อ 'ความเจริญก้าวหน้า' (亨) ของทั้งสังคม

 

สอง หยาง :

枯楊生稊老夫得其女妻無不利
kū yáng shēng tí lǎo fū dé qí nǚ qī wú bù lì
คู ยั๋ง เซิง ที๋ เหฺล่า ฟู เต๋อ ชี๋ หนฺวี่ ชี อู๋ ปู้ ลี่


枯 อ่านว่า kū (คู) แปลว่า 'แห้ง', 'ผุพัง', 'เน่าเปื่อย', ซึ่งอาจจะหมายถึง 'ตาย', 'ซากศพ', หรือ 'ซากแห้งๆ' ที่ 'เหลือแต่หนังหุ้มหระดูก', ; บางครั้งก็ยังแปลว่า 'ซีดเซียว', 'เหลือแต่ซาก' ; ซึ่งถ้าใช้กับเรื่องราวต่างๆ ก็จะหมายถึง 'เรื่องที่ไม่น่าสนใจ'

楊 อ่านว่า yáng (ยั๋ง) เป็นชื่อ 'ต้นไม้' ชนิดหนึ่งคล้ายต้นหลิว ; ความหมายทั่วๆ ไปจึงสามารถหมายถึง 'ต้นไม้'

稊 อ่านว่า tí (ที๋) หมายถึง 'กิ่งอ่อน', 'ปุ่มปมที่งอกขึ้นใหม่' ของต้นไม้ก่อนที่จะพัฒนาเป็น 'กิ่งก้านสาขา' ต่อไป

คำว่า 枯楊 (kū yáng, คู ยั๋ง) ที่หมายถึง 'ซากต้นไม้แห้ง' หรือ 'ต้นไม้ที่แห้งจนผุพัง' น่าทำให้ 老夫 (lǎo fū) ที่เห็นนี้แปลเป็นอย่างอื่นได้ยาก นอกจากจะหมายถึง 'ชายชรา' เท่านั้น ... ส่วน 稊 (tí, ที๋) ที่เป็น 'หน่ออ่อนๆ' ก็น่าจะทำให้ 女妻 (nǚ qī, หนฺวี่ ชี) แปลว่า 'ภรรยาวัยกระเตาะ' ซะมากกว่า ... :D ... ซึ่งทำให้วรรคนี้กระเดียดไปในความหมายที่เกี่ยวกับ 'ผัวแก่' กับ 'เมียเด็ก' ซะเยอะพอสมควร ... แต่ว่า ... 'จิวกง' กำลังพยายามจะสื่ออะไรบางอย่างเกี่ยวกับ 'วัยวุฒิ' ด้วยรึเปล่าล่ะ ??!! ... เพราะ 'จิวกง' ยังใช้ภาพเปรียบเทียบของ 枯楊 (kū yáng, คู ยั๋ง) กับ 'เมียแก่' และ 'ผัวเด็ก' อีกครั้งในวรรคที่ห้า ซึ่งแสดงความเป็น 'วลีคู่' กับวรรคที่สองอย่างชัดเจน ...

ผมว่าไปตามตัวอักษรก่อนแล้วกัน ... 'ต้นไม้ที่แม้จะแห้งผุ (枯楊) ยังรู้จักที่จะให้กำเนิด (生) หน่ออ่อนของกิ่งก้านใหม่ (稊) การที่ชายสูงวัยหากจะมีภรรยาที่อ่อนวัยกว่า (老夫得其女妻) ย่อมไม่มีสิ่งใดที่ไม่ดีงาม (無不利)' ... ส่วนจะหมายถึงอะไรที่มากกว่านี้เอาไว้รวบยอดทีเดียวตอนเล่าวรรคที่ห้าพร้อมกันดีกว่านะครับ ... ;)

 

สาม หยาง :

棟橈凶
dòng ráo xiōng
ต้ง เญ๋า เซฺวิง


อย่างที่บอกไปตั้งแต่แรกแล้วว่า 橈 (ráo, เญ๋า) นั้นแฝงความหมายของ 'ความอ่อนน้อม' และ 'ความอ่อนแอ' ไว้ในคำเดียวกัน เพราะฉะนั้นความหมายที่ 'จิวกง' เอ่ยถึงในวลีนี้ก็คือ 'ผู้นำ (棟) ที่เหลาะแหละโลเลไร้หลักการ (橈 คือมีวุฒิภาวะที่ไม่เพียงพอ) คือเภทภัยที่ร้ายแรงอย่างมหันต์ (凶)' ...

'ผู้นำ' (棟) ที่มีลักษณะของ 橈 (ráo, เญ๋า) หรือ 'ความอ่อนหยุ่น' จน 'ไม่มีขอบเขต' หรือ 'ไร้กฎเกณฑ์' ใดๆ ให้สามารถยึดถือ เอาแต่แสดงบทบาทของ 'ความหวานเจี๊ยบ' เพื่อเอาอกเอาใจทุกผู้คนอย่าง 'ไร้หลักการ' ผลลัพธ์ที่ออกมาย่อมมีแต่ 'ความสับสนวุ่นวาย' จนไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าควรจะดำเนินการไปในทิศทางไหน

 

สี่ หยาง :

棟隆吉有它吝
dòng lóng jí yǒu tā lìn
ต้ง ล๋ง จี๋ โหฺย่ว ทา ลิ่น


隆 อ่านว่า lóng (ล๋ง) แปลว่า 'ยิ่งใหญ่', 'ยิ่งยง' ; บางครั้งก็แปลว่า 'มั่งคั่ง', หรือ 'เจริญรุ่งเรือง' ; แต่ก็สามารถแปลว่า 'เจริญเติบโต', 'เติบใหญ่', 'งอกงาม' ... ดูเหมือน 'จิวกง' จะเลือกใช้คำนี้ให้มาเป็น 'คู่ตรงข้าม' กับ 橈 (ráo, เญ๋า) โดยเฉพาะในความหมายของ 'ความมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม'

它 อ่านว่า tā (ทา) ปรกติจะใช้เป็น 'สรรพนาม' เพื่อเรียก 'สิ่งอื่นๆ' ที่ไม่ได้หมายถึงตัวบุคคล อาจจะเป็นสัตว์, สิ่งของ, เรื่องราว, หรือภาระกิจใดๆ

ความหมายของวลีนี้เป็น 'คู่วลี' กับวรรคที่สามอย่างชัดเจนครับ เพราะมันหมายถึง 'ผู้นำ (棟) ที่มีวุฒิภาวะสมกับความยิ่งใหญ่ (隆) และสามารถนำพาสังคมไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง (吉) ย่อมต้องรู้จักปล่อยวางกับบางเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ (有它吝)' ...

ด้วยทัศนะของ 'จิวกง' ที่แสดงไว้ในวรรคนี้ก็คือ การที่ 'ผู้นำ' หนึ่งๆ จะให้ 'ความเกื้อกูล' แก่ 'ชนทุกชั้น' เพื่อแลกกับ 'ความยอมรับ' อย่าง 'บริสุทธิ์ใจ' ของทุกผู้คนนั้น จำเป็นที่จะต้องรู้จัก 'แยกแยะ' สิ่งที่ 'เป็นสาระสำคัญ' และสิ่งที่ 'เหลวไหล' ออกจากกันอย่าง 'เด็ดขาด' และต้องเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวม โดยไม่หวังพึ่ง 'ความพึงพอใจ' ที่ไม่สอดคล้องกับ 'หลักการ' อันสมควร ... 'ภาระหน้าที่' อันยิ่งใหญ่ของ 'ผู้นำ' ย่อมหมายถึงการเป็นผู้เสริมสร้าง 'สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์' ให้แก่สังคมโดยรวม มิใช่ตั้งหน้าตั้งตาอำนวยแต่ 'ความพออกพอใจ' ให้กับผู้หนึ่งผู้ใดเป็นรายวัน

 

ห้า หยาง :

枯楊生華老婦得其士夫無咎無譽
kū yáng shēng huá laǒ fù dé qí shì fū wú jiù wú yǜ
คู ยั๋ง เซิง ฮฺว๋า เหฺล่า ฟู่ เต๋อ ษื้อ ฟู อู๋ จิ้ว อู๋ ยฺวี่


มาถึงประเด็นของ 'ผัวแก่-เมียสาว' กับ 'เมียแก่-ผัวหนุ่ม' ซะที ... สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ ผมไม่คิดว่า 'คัมภีร์อี้จิง' คือตำรา 'คู้สร้าง-คู่สม' ตอน 'รักต่างวัย' แต่ประการใดทั้งสิ้น ... :P ... แต่สิ่งที่ 'จิวกง' น่าจะพยายามสื่อสารกับพวกเราผ่าน 'วลีคู่' นี้ก็คือ เรื่องของ 'หยิน-หยาง' กับประเด็นของเรื่อง 'วัยวุฒิ' มากกว่า แทนที่จะหมายถึงเรื่อง 'ผัวๆ-เมียๆ' โดยตรง ... โดยการรักษาสมดุลระหว่าง 'พลังแห่งหยิน' และ 'พลังแห่งหยาง' นั้น ต่อให้เป็น 'พลังหยินที่แก่กล้า' ก็ยังต้องมีส่วนผสม 'พลังแห่งหยาง' ไว้ในปริมาณที่พอเหมาะ หรือในกรณีของ 'พลังแห่งหยางที่เข้มข้น' ก็ยังต้องเจือปน 'พลังแห่งหยิน' ในระดับที่สมควรแก่เหตุเสมอ

คำว่า 枯楊 (kū yáng, คู ยั๋ง) ที่ปรากฏให้เห็นในทั้งสองวรรคคือวรรคที่สอง และวรรคที่ห้านี้ น่าจะหมายถึง 'ความเติบใหญ่' ที่พ้นขีดความสามารถแห่ง 'ความเจริญวัย' ไปแล้ว ซึ่งนับวันย่อมมีแต่ 'ความเหี่ยวแห้ง' และ 'ความถดถอย' อันเป็นจุดเริ่มต้นของ 'ความเสื่อมสลาย' ที่ค่อยๆ คืบคลานเข้ามาตามวัฏจักรแห่งธรรมชาติ ... 'ไม้แก่ที่เริ่มผุพัง' จึงต้องอาศัยการแตกดอก (生華) ออกกอ (生稊) ใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อธำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของตนให้ยังคงดำรงอยู่ต่อไป

'ชายชรา' หรือ 'ผัวแก่' (老夫) ในวรรคที่สอง จึงสะท้อนความหมายของ 'พลังแห่งหยาง' ที่เติบใหญ่จนถึงขีดสุด และพร้อมที่จะถดถอยลงไปตาม 'กาละ-เทศะ' ของมัน ... 'หญิงสาว' หรือ 'เมียเด็ก' (女妻) ย่อมหมายถึง 'พลังอันสดใหม่แห่งหยิน' ที่จะต้องงอกงามขึ้นมาใหม่ เพื่อช่วยกันเสริมสร้างความสมดุลแห่งพลัง ... ด้วยความหมายที่คล้ายคลึงกันนี้ 'หญิงเฒ่า' หรือ 'เมียแก่' (老婦) ในวรรคที่ห้า ย่อมต้องหมายถึง 'พลังแห่งหยิน' ที่รุ่งเรืองจนสุดล้าแล้ว จึงต้องอาศัย 'ชายหนุ่ม' หรือ 'ผัวเด็ก' (士夫) ที่เป็น 'พลังอันสดใหม่แห่งหยาง' มาช่วยกันประคับประคองต่อไป ... โดยไม่เกี่ยงงอนในเรื่องของ 'วัยวุฒิ' ให้เสียงาน

ในกรณีของ 'การปกครอง' และ 'ความเป็นผู้นำ' นั้นก็ไม่แตกต่างกัน ทุกๆ คนล้วนต้องมี 'วาระ' หรือมี 'กาละ-เทศะ' ที่เหมาะสมในแต่ละยุคแต่ละสมัยของตนเอง 'ความเจริญรุ่งเรือง' ในยุคหนึ่งสมัยหนึ่งย่อมไม่สามารถอำนวยให้เกิดขึ้นได้โดย 'ผู้นำ' รายใดรายหนึ่งไปตลอดกาล 'การบ่มเพาะผู้นำรุ่นใหม่' ขึ้นมาเพื่อสานสร้างภาระกิจต่างๆ ที่ยังคั่งค้างไว้ หรือเพื่อที่จะเสริมสร้าง 'ความเจริญรุ่งเรือง' ให้ยั่งยืนต่อๆ ไป ล้วนเป็น 'ภาระกิจของผู้นำ' ที่ไม่อาจละเลย ... 'ผู้นำ' ที่มี 'วุฒิภาวะ' จึงควรจะ 'เสาะหาและบ่มเพาะผู้นำรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมา และควรจะยินดีปรีดาเมื่อได้พบปะกับยอดคนเหล่านั้น' (見龍再田‧利見大人) ไม่ใช่มัวแต่ห่วงหน้าพะวงหลัง เพราะเกรงว่าจะมีผู้หนึ่งผู้ใดมาแสดงบทบาทที่เด่นล้ำเหนือกว่าตนเองอยู่ตลอดเวลา ...

ความหมายของ 'ต้นไม้ที่แม้จะแห้งผุ (枯楊) ยังรู้จักที่จะให้กำเนิด (生) หน่ออ่อนของกิ่งก้านใหม่ (稊) การที่ชายสูงวัย (老夫) หากจะมีภรรยาที่อ่อนวัยกว่า (得其女妻) ย่อมไม่มีสิ่งใดที่ไม่ดีงาม (無不利)' ในวรรคที่สอง และ 'ต้นไม้ที่แม้จะแห้งผุ (枯楊) ยังรู้จักที่จะผลิดอกออกผล (生華) การที่หญิงสูงวัย (老婦) จะมีสามีที่หนุ่มแน่น (得其士夫) ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลก (無咎) หรือไม่ใช่เรื่องที่ต้องปลาบปลื้มยินดี (無譽) แต่ประการใด' ในวรรคที่ห้า ก็คือสิ่งที่สะท้อนความหมายของ 見龍再田‧利見大人 (jiàn lóng zài tián . lì jiàn dà rén, เจี้ยน ล๋ง ไจ้ เที๋ยน ลี่ เจี้ยน ต้า เญิ๋น) อย่างเต็มๆ ความหมายของมันนั่นเอง

 

หก หยิน :

過涉滅頂凶無咎
guò shè miè dǐng xiōng wú jiù
กั้ว เษ้อ เมี่ย ติ่ง เซฺวิง อู๋ จิ้ว


涉 (shè, เษ้อ) เจอมาบ่อยละ แต่ขอเล่าย้อนซักอีกรอบแล้วกัน ... ;) ... คำนี้แปลว่า 'ก้าวข้าม (ทางน้ำ)', และยังมีความหมายในลักษณะของ 'การผ่านร้อนผ่านหนาว' หรือ 'การผจญชีวิต' ซึ่งหมายถึง 'มีประสบการณ์' ; และในความหมายของ 'การก้าวข้าม (ทางน้ำ)' ก็ส่งผลให้มันหมายถึง 'ข้ามน้ำข้ามทะเล' ซึ่งหมายถึง 'การผูกสัมพันธ์', 'การเชื่อมโยง', 'การปะติดปะต่อ', 'การมีส่วนร่วม', 'ความเชื่อมโยง', 'ความเกี่ยวข้อง' ; และยังหมายถึง 'การลงมือกระทำการ' ในความหมายของ 'การสร้างเสริมประสบการณ์' อีกด้วย

滅 (miè, เมี่ย) เจอกันครั้งแรกเมื่อบทที่ยี่สิบเอ็ดครับ คำนี้แปลว่า 'กำจัด', 'ทำลาย', 'ทำให้หมดไป', บางครั้งจึงแปลว่า 'หายไป', 'หมดไป', 'มอดไหม้ไป' หรือ 'เปลี่ยนแปลงไป' ; ในความหมายว่า 'ทำให้หมดไป' บางครั้งก็หมายถึง 'ใช้จนหมด', 'ใช้อย่างเต็มที่', หรือ 'ทำให้ถึงที่สุด'

頂 อ่านว่า dǐng (ติ่ง) แปลว่า 'บนสุด', 'ยอดสุด', 'สูงที่สุด'

นี่เป็น 'คู่วลี' ของวรรคที่หนึ่งแล้วครับ ;) สิ่งที่ 'จิวกง' บอกไว้ในวรรคนี้ก็คือ 'ผู้ที่สั่งสม (過 คือผ่านพ้นมา) ประสบการณ์ (涉) จนสามารถก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำสูงสุด (滅頂 คือปราศจากผู้ที่เหนือกว่า) ย่อมรู้ตัวว่าทุกย่างก้าวล้วนเต็มไปด้วยภยันตราย (凶) ที่ไม่อาจ (無) ครองตนโดยความประมาท (咎)' ... เพราะ 'ผู้ที่จะได้รับการปกป้อง และการสนับสนุน (藉) ให้อยู่ในสถานภาพดังกล่าว ย่อมต้องอาศัย (用) ความบริสุทธิ์ใจ (白) ของผู้ที่คอยค้ำจุนในแต่ละลำดับชั้น จนถึงระดับรากหญ้า (茅) จึงจะไม่ก่อปัญหาที่คับข้องเคลือบแคลง (無咎) ใดๆ'



บทบันทึกของ 'ฉึกฺอิจิง!!' :



'ต้ากั้ว' คือ ความมีวุฒิภาวะ, ลมโชยใต้ทะเลสาบ

'ภาวะผู้นำ' ที่มี 'ความหนักแน่นเข้มแข็ง' แต่แฝงไว้ภายใต้ 'การแสดงออก' ที่ 'อ่อนหยุ่นนุ่มนวล' ย่อมเป็น 'คุณลักษณะ' สำคัญในการ 'ฟันฝ่า' ไปสู่ 'ผลลัพธ์' อันเป็น 'ความพัฒนาก้าวหน้า' ยิ่งๆ ขึ้นไป

  •  
  • 'ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน' อย่าง 'บริสุทธิ์ใจ' ของ 'ชนทุกชั้น' ย่อมไม่ก่อปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อ 'การพัฒนา'
  •  
  • 'ต้นไม้ใหญ่ที่แห้งผุ' ย่อมรู้ 'กำหนดเวลา' ที่จะ 'ให้กำเนิดหน่ออ่อนของกิ่งก้านใหม่' ฉันใด 'ชายที่สูงวัย' ย่อมรู้จักสรรหา 'ภรรยาที่อ่อนวัยกว่า' ฉันนั้น ไม่มีสรรพสิ่งใดที่ไม่รู้จัก 'วันเวลา' แห่ง 'ความเจริญงอกงาม'
  •  
  • 'ผู้นำ' ที่เหลาะแหละโลเล 'ไร้หลักการ' คือ 'เภทภัย' ที่ 'ร้ายแรงอย่างมหันต์'
  •  
  • 'ผู้นำ' ที่เปี่ยมด้วย 'วุฒิภาวะอันเหมาะสม' ย่อมจะนำพาสังคมไปสู่ 'ความเจริญรุ่งเรือง' โดยรู้จัก 'วางเฉย' ต่อบางเรื่องราวที่ 'เหลวไหลไร้สาระ'
  •  
  • 'ต้นไม้ใหญ่ที่แห้งผุ' ย่อมรู้ 'กำหนดเวลา' ที่จะ 'ผลิดอกออกผล' ฉันใด 'หญิงที่สูงวัย' ย่อมรู้จักสรรหา 'สามีที่หนุ่มแน่น' ฉันนั้น หาใช่เรื่องที่ 'ผิดแปลก' หรือเรื่องที่ต้อง 'ปลาบปลื้มยินดี' แต่ประการใด
  •  
  • ผู้ที่ 'สั่งสมประสบการณ์' จนสามารถก้าวขึ้นสู่ความเป็น 'ผู้นำสูงสุด' ย่อมรู้ตัวว่าทุกย่างก้าวล้วนเต็มไปด้วย 'ภยันตราย' ที่ไม่อาจ 'ครองตน' โดย 'ความประมาท'



 

The Organization Code :



'ความมีวุฒิภาวะ' คือการรู้จักใช้ 'ความั่งคั่ง' (☴) เพิ่มเสริมสร้าง 'ความเจริญรุ่งเรือง' (☱) ... 'ระดับนโยบาย' ต้องมี 'ความหนักแน่น' และ 'เด็ดขาด' (⚎) ; 'การบริหารงาน' ต้องมี 'ความเข้มงวด' ในหลักเกณฑ์ และทิศทางที่กำหนด (⚌) ; 'การปฏิบัติงาน' ต้องมี 'ความชัดเจน' และ 'นุ่มนวล' (⚍)

'ภาวะผู้นำ' ที่แท้จริง ย่อมต้องประกอบด้วย 'ความหนักแน่นเข้มแข็ง' ที่แฝงไว้ภายใต้ 'การแสดงออก' อย่าง 'อ่อนหยุ่นนุ่มนวล' จึงจะสามารถนำพาองค์กรหนึ่งๆ ให้ 'พัฒนา' ไปสู่ 'ความเจริญรุ่งเรือง' ได้ในที่สุด

  •  
  • 'การประสานประโยชน์' เพื่อให้ได้รับ 'ความร่วมมือ' จาก 'ชนทุกชั้น' ย่อมไม่อาจใช้กำลังเข้า 'ข่มบังคับ' ตามอำเภอใจ แต่จะต้องอาศัย 'ความนุ่มนวล' อย่าง 'บริสุทธิ์ใจ' ที่ไม่ใช่ 'การเสแสร้งแกล้งดัด' เพียงเพื่อจะได้รับ 'ความนิยมชมชอบ' อย่าง 'ขอไปที'
  •  
  • 'ต้นไม้ใหญ่' ที่ 'เติบโตจนแก่กล้า' ย่อมถึงเวลาที่ต้อง 'แตกหน่อออกกอ' เป็นกิ่งก้านใหม่เพื่อ 'การขยายพันธุ์' ได้ต่อไป ... 'ผู้นำที่ยิ่งใหญ่' ย่อมต้องรู้ 'กำหนดเวลา' ที่จะ 'บ่มเพาะผู้นำรุ่นใหม่' ให้เติบกล้าขึ้นมาทดแทนตน ทุกสรรพสิ่งล้วนมีจังหวะเวลาที่รุ่งเรือง และถดถอย
  •  
  • 'ผู้นำ' ที่ 'อ่อนปวกเปียก' เพียงเพราะหวังจะ 'รักษาน้ำใจ' ของผู้คน แต่ไร้ซึ่ง 'หลักการ' และ 'ทิศทาง' ที่ 'เด่นชัด' ย่อมสร้างได้แต่ผลงานที่เต็มไปด้วย 'ความสับสนวุ่นวาย' อันนำไปสู่ 'ความฉิบหายล่มจม' ของทั้งองค์กร
  •  
  • 'ผู้นำ' ที่เปี่ยมด้วย 'วุฒิภาวะอันเหมาะสม' ย่อมรู้จัก 'วางเฉย' ต่อสิ่งที่ 'เหลวไหลไร้สาระ' โดยมุ่งเน้นอยู่กับประเด็นที่เป็น 'สาระสำคัญ' ของ 'การสานสร้าง' 'ความเจริญรุ่งเรือง' ให้กับ 'องค์กรโดยรวม'
  •  
  • 'ต้นไม้ใหญ่' ที่ 'เติบโตจนแก่กล้า' ย่อมถึงเวลาที่ต้อง 'ผลิดอกออกผล' เพื่อ 'การขายพันธุ์' ... 'การบริหารงาน' ใดๆ ย่อมต้องมีวาระแห่ง 'การปรับเปลี่ยน' ให้เหมาะสมแก่ 'กาละ-เทศะ' ที่แตกต่างกัน เพื่อจะ 'ขยายสัมฤทธิ์ผล' ไปสู่ 'วิวัฒนาการ' ในลำดับถัดๆ ไป
  •  
  • การก้าวขึ้นสู่ 'ตำแหน่งสูงสุด' แห่ง 'ความเป็นผู้นำ' ย่อมต้องประสบกับ 'ปัญหา' และ 'ภยันตราย' ใหญ่น้อยนาๆ ... 'ผู้นำที่ยิ่งใหญ่' ย่อมต้องตระหนักถึง 'หลักแห่งการครองตน' บนพื้นฐานของ 'ความไม่ประมาท' เสมอ


ความจริงแล้ว 'ภาพสัญลักษณ์' ประจำบทนี้เท่าที่เห็นก็คือ ภาพของ 'การเงิน' (☴) สนับสนุน 'การขาย' (☱) ... แต่ผมเลือกที่จะแผลงเอาความหมายดั้งเดิมของ 兑 (duì, ตุ้ย) ที่หมายถึง 'ความรื่นเริง' มาบรรยายเป็น 'เริงร่าบนความมั่งคั่ง' แทน เพื่อจะสะท้อนความหมายของ 'การครองตนบนความสำเร็จ' หลังจากที่ได้ต่อสู้ฟันฝ่ามาอย่างยาวนานถึง 27 บท ... ซึ่ง ... แม้ว่าในความรู้สึกของคนทั่วไปจะรู้สึกว่า มันควรจะเป็นจังหวะเวลาแห่ง 'การเฉลิมฉลอง' แต่สิ่งที่ปรากฏในถ้อยคำต่างๆ ของ King Wen และ 'จิวกง' ในบทนี้ กลับแสดงถึง 'ข้อเตือนสติ' ให้ระลึกถึง 'ความไม่หยิ่งผยองลำพองตน' (橈) ของตัว 'ผู้นำ' (棟) เอง โดยพยายามเน้นย้ำถึง 'ความมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม' (隆) ; 'ความไม่ประมาท' (無咎) ; และ 'การวางเฉยต่อสิ่งที่ไร้สาระ' (有它吝) ... รวมทั้งแนะนำให้มุ่งเน้นไปที่ความพยายามที่จะ 'เลือกเฟ้น' และ 'บ่มเพาะ' 'ผู้นำรุ่นใหม่' ขึ้นมารองรับไว้อย่างต่อเนื่อง ... อันถือเป็น 'ภาระกิจสำคัญ' ที่ 'ผู้นำ' หนึ่งๆ ไม่อาจมองข้ามไปอย่างเด็ดขาด ... นั่นคือ Leadership Investment ...

การเลือกใช้สัญลักษณ์ ☱ (兑, duì, ตุ้ย) มาใช้ในความหมายของ 'ผู้นำ' นี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะตามความหมายเดิมที่ผมบรรยายไว้ใน The Organization Code นั้น ☱ (兑, duì, ตุ้ย) เป็น 'สัญลักษณ์' สำหรับ 'ฝ่ายขาย' หรือ SEO (Sales Executive Officer) ไม่ใช่ CEO (Chief Executive Officer) แต่หากเรามองในมุมของ Servant Leadership เราก็จะเห็นมุมที่เกี่ยวข้องกับคำว่า 棟 (dòng, ต้ง) ที่หมายถึง 'ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุด' หรือ 'ผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงสุด' กับ 藉 (jiè, เจี้ย) ในฐานะของ 'ผู้ให้การอุปถัมภ์' ที่คอยให้ 'ความช่วยเหลือ' แก่ทุกๆ ส่วนภายในองค์กรขึ้นมาทันที ... ซึ่งลักษณะของ 'การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน' หรือ 'น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า' ดังที่ว่านี้ คงไม่มีสัญลักษณ์อื่นใดที่เหมาะสมไปกว่า ☱ (兑, duì, ตุ้ย) อีกแล้ว ... ;)

เมื่อ ☱ (兑, duì, ตุ้ย) กลายเป็น 'สัญลักษณ์' หนึ่งที่ใช้ในความหมายของ Servant Leadership ถูกนำมาผนวกเข้ากับ ☴ (巽, xǜn, ซฺวิ่น) ที่หมายถึง 'การเงิน-การลงทุน' ...  大過 (䷛, dà guò, ต้า กั้ว) ที่ผมแปลว่า 'ความมีวุฒิภาวะ' จึงแฝงความหมายของ Leadership Investment ไว้ดังที่ 'จิวกง' เปรียบเปรยคู่กับ 'ต้นไม้ใหญ่' ที่ 'แก่กล้า' จนถึงระดับหนึ่งย่อมต้องรู้จัก 'แตกดอกออกกอใหม่' เพื่อที่จะเริ่มต้นสั่งสมประสบการณ์ต่างๆ จนสามารถเติบใหญ่ไปตามวัฏจักรที่ควรจะเป็น ...

คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตำราของหลายสำนักมักจะเชื่อกันว่า นี่คือ 'บทสิ้นสุด' ของ 'ภาคแรก' แห่ง 'คัมภีร์อี้จิง' โดยถือเอาบทที่ยี่สิบเก้า และบทที่สามสิบเป็น 'บทสรุป' ให้กับเนื้อความที่ไล่เรียงกันมาตั้งแต่ 'การก่อตัว' (屯) ของบทที่สาม ... โดยมีปัจจัยประกอบว่า บทที่ยี่สิบเก้า และบทที่สามสิบนั้น ได้ปรากฏ Double Gua ที่ 'สัญลักษณ์สามขีดบน' เหมือนกับ 'สัญลักษณ์สามขีดล่าง' เป็นครั้งแรกนับจากบทที่หนึ่ง และบทที่สองเป็นต้นมา ... แต่ว่า ... ??!! ... โดยลำดับของเนื้อความเท่าที่ ZhuqiChing บรรยายมาตลอด 28 บทนี้ บทที่ยี่สิบเก้า และบทที่สามสิบ 'อาจจะ' ไม่ใช่ 'กึ่งกลางของคัมภีร์' อย่างที่เข้าใจกัน ??!! ... ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ศาสตร์ใดๆ ที่อ้างอิง 'จุดกึ่งกลางคัมภีร์' คลาดเคลื่อนไป 'ความหมายที่แท้จริง' ของมัน คงต้องมีการสังคยนากันอย่างขนานใหญ่พอสมควร ... ;)